Untitled Document
     
 
เทพทาโร
Untitled Document เทพทาโร
(Cinnamomum porrectum)
LAURACEAE
เทพทาโร(กลาง, จันทบุรี, สุราษฎร์ธานี); จวง, จวงหอม(ใต้); จะไคต้น, จะไคหอม(เหนือ); พลูต้นขาว(เชียงใหม่); มือแดกะมางิง(มลายู-ปัตตานี)
 

ต้นไม้ประจำจังหวัด

พังงา

ชื่อพันธุ์ไม้

เทพทาโร

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cinnamomum porrectum Kosterm.

วงศ์

LAURACEAE

ชื่ออื่น

จะไคหอม จะไคต้น (ภาคเหนือ), จวงหอม จวง (ภาคใต้), พลูต้นขาว (เชียงใหม่), เทพทาโร (ภาคกลาง, จันทบุรี, สุราษฎร์ธานี), มือแดกะมางิง (มลายู-ปัตตานี)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นสูง 10–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ก้านใบเรียวเล็ก ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลทรงกลม มีขนาดเล็ก

ขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ป่าดงดิบบนเขาทั่วไป
ไม้เทพทาโร เป็นไม้ที่เพาะพันธุ์จากเมล็ดได้ยากมาก เนื่องจากในเมล็ดไม้ที่สุกเต็มที่แล้วจะมีน้ำมันห่อหุ้มอยู่ในส่วนของเนื้อและข้างในเมล็ดค่อนข้างมาก ที่วัดนิโครธาราม อำเภอท้ายเหมือง หลวงพ่อท่านจึงเก็บเอาส่วนของเมล็ดมาบีบเอาน้ำมัน จะได้น้ำมันสีเหลืองอำพันในอัตราส่วนของเมล็ดต่อน้ำมัน ประมาณ 5 ปี๊บ ต่อน้ำมัน 1 ปี๊บ ซึ่งนับว่ามีน้ำมันค่อนข้างมาก แต่จากการสังเกตดูจะพบว่าในส่วนของรากต้นเทพทาโร น่าจะมีน้ำมันมากกว่าและมีกลิ่นที่แรงกว่า

เทพทาโร (Cinnamomum porrectum (Roxb) Kosterm.) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์อบเชย (Lauraceae) พบมากทางภาคใต้ของไทย นิยมเอาส่วนรากใช้ในงานแกะสลักเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ สำหรับเป็นเครื่องบูชา ตกแต่งบ้านและสินค้าที่ระลึก เป็นต้น ทำให้มีเศษรากไม้เป็นวัสดุเหลือทิ้งจำนวนมาก เศษรากไม้นี้กลุ่มเกษตรกรนำมาผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหยเทพทาโรโดยวิธีการกลั่น เพื่อใช้ทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย ทาถูนวดแก้ปวดเมื่อย

พบว่า องค์ประกอบหลักทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากรากไม้เทพทาโร มีสารซาฟรอล (safrole)เป็นองค์ประกอบหลัก และยังพบ เมทิลยูจินอล (methyleugenol) อีลิมิซิน (elemicin) และซีส-ไอโซอีลิมิซิน (cis-isoelemicin) ในน้ำมันหอมระเหยเทพทาโรอีกด้วย 

สำหรับฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมันหอมระเหยเทพทาโร พบว่า น้ำมันหอมระเหยเทพทาโรมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปากคือ Streptococcus mutans โดยมีค่า MIC 10 mg/ml และมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคกลาก ได้แก่ Trichophyton mentagrophytes และ Trichophyton rubrum มีค่า MIC อยู่ในช่วง 0.5-1.0 mg/ml. 

ในปัจจุบันกระบวนการผลิตน้ำมันหอมระเหยเทพทาโรยังไม่มีกรรมวิธีและสภาวะที่เหมาะสม น้ำมันหอมระเหยที่ได้จึงมีปริมาณและคุณภาพไม่สม่ำเสมอ ซึ่งการควบคุมคุณภาพน้ำมันหอมระเหยให้ได้มาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการผลิตในเชิงพาณิชย์



Last updated: 2012-08-28 21:08:49
 
     
     
   
     
Untitled Document