เทพทาโร
Untitled Document
เทพทาโร (Cinnamomum parthenoxylon) LAURACEAE = C. porrectum Kosterm.
จวง จวงหอม (ใต้) จะไค้ต้น (ภาคเหนือ) ตะไคร้ต้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มือแดกะมางิง (ปัตตานี)
ชื่ออื่นๆ : |
การบูร จะไคหอม จะไคต้น จวงหอม จวง พลูต้นขาว มือแดกะมางิง |
ชื่อสามัญ : |
Citronella laurel, True laurel |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : |
Cinnamomum porrectum Kosterm, Cinnamomum parthenoxylon Meissn. และ Cinnamomum glanduliferum Nees |
วงศ์ : |
Lauraceae |
ถิ่นกำเนิด : |
ประเทศไทย (ภาคใต้) มาเลเซีย อินโดนีเซีย |
ลักษณะทั่วไป : |
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูงประมาณ 10 - 30 ม. |
ฤดูการออกดอก : |
อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล (ปลูกแล้ว 1 ปี ยังไม่มีการออกดอก) |
เวลาที่ดอกหอม : |
ใบ ลำต้น ราก หอมตลอดวัน (ข้อมูลที่ได้จากการปลูกในสวนไม้หอม) |
การขยายพันธุ์ : |
· ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล ขยายพันธุ์โดยการปักชำ และเพาะเมล็ด |
ข้อดีของพันธุ์ไม้ : |
· เป็นพันธุ์ไม้ที่มีความหอมในทุกๆ ส่วน ตั้งแต่ใบ ดอก ลำต้น ราก |
ข้อแนะนำ : |
· เป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการน้ำค่อนข้างมาก
· ที่สวนไม้หอมฯ เทพทาโรจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร (แสงแดดประมาณ 50%) |
ข้อมูลอื่นๆ : |
· ใบ เรียกว่า ใบกระจาน ใช้ทำเครื่องเทศ ขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
· เนื้อไม้ แก้ลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ปวดท้อง
· มีสารสำคัญในเนื้อไม้ คือ d - camphor ที่ใช้แทน sassafras ได้ดีให้น้ำมันที่มีสารหอม คือ safrol และ cinnamic aldehyde และยังพบ safrol ในเปลือกต้นและใบ
· เป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดพังงา |
หมายเหตุ : |
· เนื้อไม้ นิยมใช้ในการแกะสลักเป็นของเคารพบูชา ของประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือน และของที่ระลึกต่างๆ ในความเห็นของผู้รวบรวมเห็นว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่น่าปลูกชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ยังมีจำนวนไม่มาก และช่วงระยะเวลาในการใช้ประโยชน์ยาวนาน
· ในสภาพธรรมชาติเป็นพันธุ์ไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ของประเทศไทยที่มีระดับความชื้นสูง อุณหภูมิของอากาศไม่แตกต่างกันมากนัก การปลูกพันธุ์ไม้ใดๆ ก็ตามหากปลูกในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับสภาพถิ่นกำเนิด จะทำให้ประสพความสำเร็จในการปลูกและลดความยุ่งยากในการดูแลรักษา |
Last updated: 2012-08-28 21:37:16
|