กล้วยป่า
Untitled Document
กล้วยป่า (Musa acuminata) MUSACEAE กล้วยป่า,กล้วยลิง(อุตรดิตถ์),กล้วยเถื่อน,กล้วยเถื่อนน้ำมัน(ภาคใต้),กล้วยหม่น(เชียงใหม่),ปีซังอูตัง(มลายู ปัตตานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Musa acuminata Colla
ชื่อพื้นเมือง: กล้วยเถื่อน (ใต้) กล้วยลิง (อุตรดิตถ์) กล้วยหม่น (เชียงใหม่) ปีแซฮูแต (มลายู-ยะลา) ชื่อวงศ์: MUSACEAE ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์: - เป็นพืชล้มลุก ลำต้น สูง 2.5-3.5 เมตร กาบก้านใบแผ่ประกบกันขึ้นเป็นลำคล้ายลำต้น ใบ ใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่มาก ท้องใบมีคราบนวลขาวปกคลุม เส้นกลางใบเป็นเส้นใหญ่ด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างโค้งนูนเป็นสัน ก้านใบส่วนล่างแผ่ออกเป็นกาบประกบกันเป็นลำแน่นคล้ายลำต้น ดอก เป็นช่อเรียกหัวปลี มีกาบรองดอกขนาดใหญ่รองรับดอกย่อยแต่ละกลุ่มย่อยกาบรองดอกสีม่วงอมแดง ผล เป็นหวีติดต่อกันเป็นเครือ ผลอ่อนสีเขียวผลสุกสีเหลือง เนื้อในสีขาวนวลรสหวาน มีเมล็ดจำนวนมากสีดำ ต้นหนึ่งๆ จะออกผลครั้งเดียวแล้วตาย
ช่วงการออกดอกและติดผล: ตลอดปี นิเวศวิทยา: พบกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย พบทั่วไปในป่าดิบแล้งป่าดิบชื้น และป่าผสมผลัดใบ ประโยชน์: ใช้บริโภค ผลอ่อนยำ ปลีผัดผัก หยวกแกงกะทิ การขยายพันธุ์:วิธีการแยกหน่อ หรืออาจใช้เมล็ดปลูก ภาพเพิ่มเติม:
Last updated: 2012-08-20 21:21:40
|