Untitled Document
     
 
แข้งกวาง
Untitled Document แข้งกวาง
(Wendlandia tinctoria)
RUBIACEAE
แข้งกวาง(ลำปาง,ลำพูน),แข้งฟาน(แพร่),มันปลา(เลย),กว้าวกวาง(เชียงใหม่),ขอเบ๊าะ,ตะคอเคาะ,พกคั้ง, มอกกาว(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
 

แข้งกวาง ข้อมูล ต้น แข้งกวาง ลักษณะต้น ต้น แข้งกวาง

แข้งกวาง มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า
Wendlandia tinctoria   A.DC.

แข้งกวาง จัดได้ว่า เป็น หนึ่งใน พรรณไม้ ที่ ปัจจุบันนี้ ลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก เนื่องจาก เดิมทีนั้น ต้นแข้งกวาง เป็น ต้นไม้ ที่ขึ้น ตาม พื้นที่ป่า กระจาย ตามภาค ต่างๆ ของประเทศไทย แต่ปัจจุบัน เนื่องจากปัญหา การแผ้วถางพื้นที่เพื่อทำการเกษตร และ การทำลายป่าไม้ ที่ กำลังรุนแรง ขึ้นทุกขณะ ทำให้ ต้น แข้งกวาง ได้รับผลกระทบ ไปด้วย อย่างที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้

ลักษณะของต้น แข้งกวาง เป็น

ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-8 ม.
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ หรือ 3 ใบ รูปรีแกมรูปใบหอก กว้าง 2-4.5 ซม. ยาว 3.5-9 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 0.8-1.2 ซม. มีหูใบรูปสามเหลี่ยม
ดอก สีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อรวมยาว 3.5-8 ซม. ดอกขนาด 2-2.5 มม. เป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 กลีบ ม้วนออกด้านนอก ขนาดกว้าง 0.8 มม. ยาว 1 มม. เกสรผู้ 5 อัน
ผล รูปทรงกลม ขนาด 1-1.2 มม. ผิวเกลี้ยงเมื่อแห้งแตกเป็นสองซีก

ถิ่นกำเนิด และ พื้นที่ที่พบ ต้น แข้งกวาง คือ จากอินเดียถึงคาบสมุทรอินโดจีน ตามป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป ที่ระดับความสูง 200-600 ม. ออกดอกและผลระหว่างเดือนธันวาคม-มีนาคม

แข้งกวาง มีชื่อวงศ์ คือ RUBIACEAE

แข้งกวาง มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า

กว้าวกวาง แข้งฟาน


Last updated: 2012-08-12 21:54:42
 
     
     
   
     
Untitled Document