|
|
|
|
|
สกุลมังตาล
Untitled Document
มังตาน (Schima wallichii) THEACEAE มังตาน,ฟังตาน,ฟันตัน(ภาคใต้),กรรโชก(ภาคตะวันออก),กาโซ้(ยะลา,นครพนม),คาย,ทะโล้,สารภีป่า(ภาคเหนือ), คายโซ่,จำปาดง,พระราม(เลย),ตื้อซือซะ(กระเหรี่ยง เชียงใหม่),บุนนาค(นครราชสีมา,ตราด), มือแดกาต๊ะ(มลายู ปัตตานี),หมูพี(เงี้ยว เชียงใหม่)
สกุล Schima เป็นไม้ต้น ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ ดอกออกเดี่ยวตามซอกใบหรือออกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้นตามปลายกิ่ง กลีบดอกและกลีบเลี้ยงมีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก ติดที่โคนวงกลีบดอก อับเรณูติดไหวได้ รังไข่ติดเหนือวงกลีบ มี 5 ช่อง ในแต่ละช่องมีออวุล 2-6 เม็ด ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก ผลเป็นแคปซูลแข็ง กลม แตกตามรอยประสาน เมล็ดแบน รูปไต มีปีกที่ขอบแคบๆ
สกุลมังตานเคยจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ในปัจจุบันถือว่ามีเพียงชนิดเดียวคือ มังตาน Schima wallichii (DC.) Korth. มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย พม่า และคาบสมุทรมลายู
| | | | | ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 35 ม. ใบรูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ยาว 4.5-18 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว รูปลิ่ม หรือกลม ขอบใบเรียบ เป็นคลื่นหรือจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว 0.5-3.5 ซม. ก้านดอกยาว 2.5-4 ซม. กลีบเลี้ยงเกือบกลม ยาวได้ประมาณ 0.3 ซม. มีขนครุย กลีบดอกสีขาว รูปไข่กลับ ปลายกลีบกลม ยาวได้ประมาณ 2 ซม. รังไข่กลม ยาวประมาณ 0.3 ซม. มีขนสั้นนุ่มคล้ายใยไหม ก้านเกสรเพศเมียยาวได้ประมาณ 0.2 ซม. ผลเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 2-4 ซม.
มังตานมีเขตการกระจายพันธุ์เช่นเดียวกับสกุล ในไทยพบทุกภาคตั้งแต่ชายทะเลจนถึงระดับความสูงประมาณ 2500 ที่ยอดดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นตามป่าโปร่งตามชายทะเล ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาโดยเฉพาะตามสันเขา
| | | | ชื่ออื่น ชื่ออื่น กรรโชก (ภาคตะวันออก); กาโซ้ (นครพนม); คาย, ทะโล้, สารภีป่า (ภาคเหนือ); คายโซ่, จำปาดง, พระราม (เลย, หนองคาย); บุนนาค (นครราชสีมา, ตรัง); พังตาน, พันตัน (ภาคใต้)
| | ดอกออกช่อแบบช่อกระจะสั้นๆ ตามปลายกิ่ง เกสรเพศผู้จำนวนมาก (ภาพ: เขาเหมน นครศรีธรรมราช)
| ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ ขอบใบจักฟันเลื่อย ผลเป็นแคปซูลแข็ง กลม แตกตามรอยประสาน (ภาพ: ระนอง) |
|
| |
Last updated: 2012-08-10 08:06:47
|
|
|
|
|
|
|
|