�
��������������� กรณีการจัดซื้อกล้าไม้โดยทุจริตของหน่วยงานในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 ต่อมาปี
พ.ศ.2556 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม�
ได้ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง มาถึงปี พ.ศ.2559 จึงได้แต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง
และคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 และเดือนเมษายน 2559 ตามลำดับ คราวก่อนได้พูดในเรื่องการสอบวินัยร้ายแรงไปบ้างแล้ว
คราวนี้ขอว่าในเรื่องความรับผิดทางละเมิดดูบ้าง มีตัวอย่างมาให้พิจารณา
ซึ่งเป็นเหตุการณ์ก่อนที่ พระราชบัญญัติความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ.2539 จะบังคับใช้ แต่ก็เป็นอุทาหรณ์เตือนใจผู้ที่เป็นผู้บริหารได้เป็นอย่างดี
เรื่องตามฎีกาที่ 1199/2540 นายยงยุทธ เป็นข้าราชการ กรมป่าไม้ เป็นข้าราชการ ระดับซี
3 ได้รับคำสั่งจากกรมป่าไม้ให้ไปดูแลรักษา สวนป่าควนเขาวัง� สำนักงานป่าไม้เขตสงขลา สวนป่าควนเขาวังนี้ สภาพไม่เหมาะสมแก่การปลูกป่า
กล้าไม้ขนาดเล็กจึงตายลงไปเรื่อยๆ นายยงยุทธ ไม่รายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเสนอให้กรมป่าไม้ยกเลิกการปลูกสวนป่า
แต่ได้เบิกเงินบำรุงรักษาสวนป่าในปี 2526 และปี 2527 ตลอดมา
เป็นเหตุให้กรมป่าไม้สูญเสียงบประมาณ ได้รับความเสียหาย
คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของกรมป่าไม้ ตั้งขึ้นมามีความเห็นว่านายยงยุทธ
ทำละเมิดต่อกรมป่าไม้ และจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย อันเป็นเงินงบประมาณค่าบำรุงสวนป่า
ที่นายยงยุทธ เบิกไปคืนให้กรมป่าไม้...
��������������� โปรดสังเกตให้ดีว่า
เหตุละเมิดเกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2526 และปี พ.ศ.2527
แต่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงได้ทำรายงานสรุปข้อเท็จจริงและลงความเห็นเมื่อวันที่
27 พฤศจิกายน 2534 ( ทิ้งระยะเวลา 7 ปี ) เสนอต่ออธิบดีกรมป่าไม้ว่า นายยงยุทธ ทำละเมิดและจะต้องรับผิด
ชดใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับเงินงบประมาณค่าบำรุงรักษาป่าแก่กรมป่าไม้...
��������������� ไม่ทราบว่าใครเอาเรื่องไปซุกไว้ที่ไหนเสียหลายเดือน
รองอธิบดีกรมป่าไม้ คนหนึ่งปฏิบัติราชการแทนอธิบดี
ได้บันทึกท้ายรายการที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเสนอมาเมื่อวันที่ 10
กุมภาพันธ์ 2535�
ให้กองนิติการพิจารณาเสนอความเห็นด้วย�
กองนิติการได้เสนอความเห็นลงวันที่ 22 ตุลาคม 2535(คือผ่านไป 8
เดือนเศษ)ว่านายยงยุทธ ต้องรับผิดชอบตามความเห็นที่คณะกรรมการสอบสวนเสนอมา�
พร้อมกันนั้นกองนิติการก็ร่างหนังสือแจ้งให้นายยงยุทธ ชดใช้ค่าเสียหายมาเพื่อให้อธิบดีคนเดิมลงนาม...
��������������� รองอธิบดีกรมป่าไม้ท่านนั้นใช้เวลา
3 วัน ทำบันทึกท้ายความเห็นของกองนิติการ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2535 ว่า “ชอบ
ลงนามแล้ว” ต่อไปทำอย่างไร�
กรมป่าไม้ก็เป็นโจทก์ฟ้องนายยงยุทธ ให้ชดใช้เงิน 42,267.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยกับค่าเสียหายอีก
74,880 บาทพร้อมดอกเบี้ย� นายยงยุทธ จำเลยสู้คดีว่า
คดีขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง �ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
พิพากษาตรงกันให้ ยกฟ้อง� กรมป่าไม้
ยื่นฎีกา...
��������������� ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
ถือว่ากรมป่าไม้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 (คือวันที่รองอธิบดีกรมป่าไม้
ปฏิบัติราชการอธิบดี ได้บันทึกท้ายรายงานของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง
และส่งเรื่องให้กองนิติการเสนอความเห็น)�
แต่กรมป่าไม้ นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 (เป็นเวลาเกินกว่า 1
ปี นับแต่กรมป่าไม้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน)
คดีจึงขาดอายุความ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง)
เมื่อคดีขาดอายุความเช่นนี้ ประเด็นข้ออื่นก็ไม่ต้องวินิจฉัย พิพากษายืน เงินจำนวน
117,047.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยที่ควรจะได้ก็ ไม่ได้...?
��������������� คดีนี้ตัวอย่างให้เราเห็นว่า�
กรมป่าไม้ปล่อยปละละเลยให้ข้าราชการเบิกเงินเท็จติดต่อกันได้ถึง 2 ปี ได้อย่างไร
ทั้งที่รู้ว่าสวนป่าแห่งนี้ไม่เหมาะสมแก่การปลูกป่า�
อีกอย่างคือปล่อยให้คดีขาดอายุความไปเช่นนี้มีใครจะต้องรับผิดชอบบ้างละครับ
ฯพณฯ..?
��������������� เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง
หรือสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อหาผู้รับผิดชอบทางแพ่ง รู้สึกจะมีปัญหาทุกกระทรวงทบวงกรม
ยิ่งในสมัยก่อนแล้วยิ่งแย่เป็นสองเท่า เพราะไม่มีการควบคุมเข้มเหมือนปัจจุบัน� คณะกรรมการบางคณะที่ขาดคุณธรรม
จริยธรรมบางคนตั้งหน้าตั้งตารีดเงินหรือสิ่งตอบแทนจากผู้ถูกกล่าวหาซึ่งตนรับว่าจะช่วยให้หลุดมลทิน
กว่าจะสอบเสร็จผู้ถูกกล่าวหาแทบหมดตัว บางครั้งก็ช่วยได้บ้าง บางครั้งก็ไม่สำเร็จ
เนื่องจากผู้เป็นกรรมการสอบสวนไม่เป็นได้แต่ขออนุมัติส่วนกลางออกมานอนกินเที่ยวไปวันๆ�
สร้างความทุกข์ยากให้กับผู้ถูกกล่าวหาเพิ่มไปอีก บางคณะก็เปลี่ยนคณะกรรมการเป็นว่าเล่น
ไม่คำนึงถึงระยะเวลาที่ระเบียบกำหนด สาเหตุมีหลายประการ
บางคนอ้างว่าไม่อยากฆ่าพวกเดียวกัน�
บางคนอาศัยช่วงจังหวะในการทำงาน ต้องยืดเวลา จากระยะเวลาที่กำหนด ภายใน 180
วัน กลายเป็นปี สองปียังสอบกันยังไม่เสร็จ บางกรณีผู้ที่ถูกกล่าวหาและคณะกรรมการบางคนต่างล้มหายตายจากไปก็มี
จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนพบ ส่วนใหญ่คณะกรรมการถูกแต่งตั้งสอบสวนไม่เป็น� แม้ระเบียบจะระบุให้การแต่งตั้งคณะกรรมการที่มีคุณสมบัติ
จบนิติศาสตรบัณฑิต หรือผู้ที่มีประสบการณ์ทางการสอบสวนวินัยอย่างน้อยหนึ่งคนก็ตาม
สำหรับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชและ กรมป่าไม้
ของเราเริ่มจะมีการรับบุคคลที่จบนิติศาสตร์ มาบรรจุตามสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทั้ง
16 แห่ง ไม่นานมานี้เอง ดังนั้น
คนที่มีทักษะในเรื่องนี้จริงจึงมีอยู่ประจำที่ฝ่ายวินัย กองนิติการ เท่านั้น� นิติกรบรรจุใหม่จึงเพิ่งเริ่มหาประสบการณ์
และงานสอบสวนข้อเท็จจริงไม่ใช้งานหลัก ทำให้พวกเราจึงขาดความรู้และทักษะในเรื่องนี้� เพราะโดยความเป็นจริงแล้วคนที่มีพื้นฐานในการสอบสวนดำเนินคดีป่าไม้
สามารถนำมาประยุกต์ใช่ได้�
เพราะเป็นการรวบรวมข้อเท็จจริงแล้วแจ้งข้อกล่าวหา ให้ผู้ถูกล่าวหาแก้ต่าง
ต่างคนต่างแสวงหาพยานหลักฐานมาหักล้างกัน ใครมีมากและถูกต้องก็เป็นผู้ชนะไป� แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
หากมีการสอบถามเพื่อถามความสมัครใจขอเป็นคณะกรรมการสอบสวน ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง
สอบวินัย สอบละเมิด ร้อยทั้งร้อยจะปฏิเสธ...
��������������� ทำไม...ทำไม...บางคนเก่งอยู่นอกห้องรู้เสียไปทุกอย่าง
พอเสนอให้เป็นกลับปฏิเสธหัวชนฝา�
บางคนบอกว่ามันผิดอยู่แล้วสอบไปก็ผิด�
กลัวแต่วิ่งมาช่วยนี้ซิลำบากใจเป็นการพูดทำให้ตนดูดี
แต่ความเป็นจริงแล้วยังไม่เข้าใจขบวนการสอบสวน�
สำหรับผู้เขียนแล้วกลับมีความเห็นตรงข้ามกัน การจะเอาคนมาลงโทษไม่ใช่เรื่องง่าย
ยิ่งหากเขาต่อสู้ด้วยแล้วยิ่งยากไปใหญ่� เนื่องจากการจะเอาผิดใครสักคนต้องระมัดระวังให้มาก
เรากล่าวหาเขาอย่างไร ต้องแสวงหาหลักฐานมาสนับสนุนข้อกล่าวหาให้ครบองค์ประกอบของความผิด
ยิ่งในคดีป่าไม้ด้วยแล้วทนายความ บางคนปรามาสว่า การจับกุมของเจ้าหน้าที่หากผู้ต้องหามีปัญญาสู้คดี� แทบจะหลุดหมดทุกคดี...
��������������� ฟังตอนแรกรู้สึกฉุนเช่นกันพอตั้งสติได้มานั่งพิจารณาและดูพวกพี่ๆน้องๆ
ที่ทำหน้าที่นี้แล้วน่าจะเป็นจริง เพราะการทำงานของพวกเราหละหลวม
และไม่ติดตามคดีปล่อยให้อัยการสั่งฟ้องอย่างโดดเดี่ยว� จึงเป็นเหตุให้บางคดีพ่อค้ารู้ทางคดีป่าไม้ จึงถูกอัยการสั่งไม่ฟ้องเป็นจำนวนมาก
แล้วพวกเราได้แต่มานั่งเจ็บใจ� แต่นั้นก็ยังไม่ขอสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนมาอ่าน
เพื่อศึกษาว่ามีช่องโหว่หรือจุดอ่อนอย่างไร...?
ปัจจุบันมีผู้เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์เป็นสุภาพสตรีและจบออกมาเป็นจำนวนมาก
คิดกันอย่างไรก็เริ่มวางนโยบายก็แล้วกัน
สมัยผู้เขียนยังรับราชการอยู่เคยพาน้องผู้หญิง(คุณนพมาศ แก้วพรมชัย-บัวหอม)ออกทำงานปราบปรามเพื่อจะได้ปูพื้นฐานไว้
ต่อไปอาจเป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหรือหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จะได้มีภูมิ
ชวนไปฝึกงาน 2-3 ครั้ง ไม่รู้มือดีมาจากหน่วยไหนมาคว้าชวนไปทำงานเกี่ยวกับสารสนเทศ
ยังศึกษาไม่ได้เท่าใดเลยคิดแล้วเสียดาย ฝากรุ่นหลังๆ ช่วยฝึกน้องๆด้วย
มีประโยชน์จริงๆ อย่ามัวแต่มากีดกันว่าสุภาพสตรีทำงานปราบปรามฯ� ไม่ได้เหมาะนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น� งานของเรามีความจำเป็นมาก
ไม่ใช่เก่งแต่รับแขกและเป็นมัคคุเทศก์ตามอุทยานแห่งชาติ.... ����������
�

Last updated: 2017-05-03 15:46:04