ควันหลงแต่งตั้งเจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส
เจ้ากรมเคยกล่าวให้นโยบายผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทั้ง 16 สำนักฯ ว่าจะพยายามกระจายตำแหน่งให้ได้รับการแต่งตั้งทุกสำนักฯ เพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งนับว่าเป็นกุศโลบายที่ไม่เลวทีเดียว
�
��������������� การเลื่อนขั้นเลื่อนระดับและตำแหน่งของข้าราชการ
ไม่ว่ายุคใด สมัยใดย่อมไม่เป็นที่พอใจและถูกใจคนจำนวนมาก
คนที่ได้ก็ว่าสมเหตุสมผลยุติธรรมดี คนที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งก็เสียใจ
บางคนพาลไปว่าไม่ยุติธรรม แล้วความยุติธรรมมันอยู่ที่ไหน บางคนบอกก็ว่าความยุติธรรมไม่มีในโลกนี้��
กฎกติกาที่พยายามตั้งขึ้นมาเพื่ออ้างอิงนั้นมันเป็นข้ออ้างที่กลั่นกรองมาอย่างถูกต้องสมบูรณ์
แต่มันเป็นเพียงนามธรรม เวลาผู้มีอำนาจปฏิบัติกลับไม่นำมันมาใช้ กลับเอาคุณสมบัติ สายโลหิต
ศิษย์ข้างเคียง ส่งเสบียงหลังบ้าน หน้าด้านสอพลอ หรือ อักษรลิขิต ด
ว ง ซึ่งหมายความว่า มีคุณสมบัติเป็นเด็กของใคร ใครฝากมา วิ่งเต้นหรือเปล่า
สุดท้ายมีเงินหรือส่งส่วยตรงเวลาหรือไม่ มาเป็นบรรทัดฐาน...
��������������� ได้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันศุกร์ที่
7 เมษายน 2560 ข่าวเลื่อน 32 ป่าไม้อาวุโส กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
พยายามนั่งอ่านไล่ชื่อเจ้าหน้าที่ที่รู้จัก ไม่ปรากฏว่ามีคนใดได้รับการเลื่อนชั้น
(ดูเฉพาะสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)) เพราะก่อนที่มีการรับสมัคร
ได้มีเจ้าหน้าที่หลายคน โทรศัพท์มาถามว่า ควรสมัครเข้าไปแข่งขันในครั้งนี้หรือไม่� ข้าพเจ้าสอบถามกลับว่ามีสิทธิ์หรือไม่
ได้รับคำตอบว่ามี จึงถามกลับไปว่าทำไมจึงทิ้งสิทธิ์นี้
ได้รับคำตอบที่ไม่น่าจะได้ยินว่า “ข่าวเขาว่ามีตัวหมดแล้วทั้ง 32 คน” จึงได้ให้กำลังใจไปว่า
ไม่จริงหรอกข่าวก็คือข่าว และ ยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ด้วยแล้วรัฐบาลเอาจริงอย่าให้รู้ถึงลุงตู่ไม่ได้เด็ดขาด�
ปรากฏการที่เกิดต้านการสมัครนี้เกิดหลายครั้งแล้ว ได้ปลอบใจไปหลายคนหลายยุค
วิกฤติศรัทธาต่อองค์กร เริ่มเสื่อมถอยแล้ว
เราจะหากำลังพลมาทำงานป้องกันรักษาป่าได้อย่างไร?...
��������������� ท่านผู้อ่านมาทั้งหมดนี้นึกค่อนขอดอยู่ในใจว่า
เรื่องแค่เจ้าหน้าที่ที่รู้จักไม่ได้รับการเลือกตั้งก็นำมาเป็นสาระ
แต่ในความเป็นจริงแล้วจากการรับฟังมาหลายด้าน
เรื่องมันมีอยู่ว่าเจ้ากรมเคยกล่าวให้นโยบายผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทั้ง
16 สำนักฯ ว่าจะพยายามกระจายตำแหน่งให้ได้รับการแต่งตั้งทุกสำนักฯ
เพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งนับว่าเป็นกุศโลบายที่ไม่เลวทีเดียว
ที่ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กว้างไกล เปรียบนโยบายที่จะไม่พยายามให้มี “เสือข้ามห้วย”
ซึ่งเป็นตำราพิชัยยุทธ เสมือน ไม่ควรเปลี่ยนม้ากลางศึก� นอกจากนั้นการพิจารณากรมน่าจะให้เป็นความลับ
เปิดเผยทีเดียวเมื่อประกาศรายชื่อ แต่กลับมีบัญชีแนบท้ายรายชื่อของผู้ผ่านเกณฑ์ถึง
50 คน ปลิวว่อนทางไลน์
จึงทำให้ผู้มีรายชื่อพอได้รับทราบก็เข้าใจผิดคิดว่าตนเองมีหวังคล้ายที่โบราณว่าเป็นการ
“เคาะกะลา” พอประกาศชื่อ 32 คน อีก 18 คน กลับสิ้นหวังโดยไม่ทราบสาเหตุ
การทำงานเหมือนเด็กเล่นขายของ จะลับก็ไม่ลับ กลายเป็น “ลับกันให้แซ๊ด”
ที่น่าเจ็บใจหากข่าวที่ว่าเจ้ากรมพูดว่าจะกระจายให้ทุกสำนักในความเป็นจริง
มีสำนักฯที่ไม่ได้รับการคัดเลือกคนของสำนักขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส
ถึง 5 สำนักฯ มี สบอ.1(ว่าง 3 ตำแหน่ง) สบอ.8(ว่าง 1 ตำแหน่ง) สบอ.9
(มีอัตราว่างถึง 3 ตำแหน่ง) สบอ.10(ว่าง 1 ตำแหน่ง) และ สบอ.11(ว่าง 4 ตำแหน่ง) �ถ้าหากผู้เขียนเป็นผู้อำนวยการสำนักฯเหล่านี้
คงไม่รู้จะเอาหน้าไปไปไว้ที่ไหน และที่เจ็บหนักไปกว่านั้นคนที่มาเอาตำแหน่งแทนที่จะทำงานให้กับตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง
กลับไปช่วยราชการที่เดิม� หมายความว่า อย่างไร
บางแห่งสิ้นปียังได้รับความดีความชอบเพิ่มอีก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
พระเจ้าช่วยกล้วยทอดสองต่อเข้าฮ๊อด แค่เสือข้ามห้วยนี้นับว่าแย่แล้ว มาดูสำนักฯ ที่ได้เลื่อนมากที่สุดคือ
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) ได้เลื่อนตำแหน่ง 7 คน
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) ได้เลื่อน 6 คน ส่วนกลาง ได้เลื่อน 5 คน ขอให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาและใช้ดุลพินิจด้วยตนเอง...?
��
��������������� จากการตรวจดูบัญชีรายชื่อผู้ที่ได้ผ่านการคัดเลือก
50 คน ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) มีถึง 3 คน
และมีอัตราว่าง 3 ตำแหน่ง ดูผ่านๆโดยไม่ใช้สมองน่าจะมีคนติดโผสัก 1 ตำแหน่ง
อย่างน้อย แต่ผลปรากฏว่าไม่มีแม้แต่รายเดียว เป็นเสือจากสำนักอื่นกระโดดมา
ว่ายน้ำบ้าง ข้ามห้วยมากินซากสัตว์ฝั่งตรงข้ามบ้าง
พออิ่มแล้วบางตัวก็นั่งเครื่องกลับไปปฏิบัติงานยังสถานที่เดิม
บรรดาเจ้าของเหยื่อ(ตำแหน่ง)ต่างก็นั่งมองด้วยสายตาละห้อย สอบถามกันภายในข่าวที่ไม่ได้กรองบางคนก็ว่า
คนของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) สองคนติดแบล็คลิสท์
อยู่ระหว่างการถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ซึ่งข้อความตรงนี้ไม่ใช่จะเป็นปัญหาที่แท้จริง
เพราะเท่าที่ผู้เขียนเคยเห็นใบสมัครและเกณฑ์การให้คะแนน เมื่อคราวเปิดรับสมัคร 15
มีนาคม 2555 ใบสมัครจะมีข้อความในข้อ 9 ว่า “ประวัติการถูกลงโทษทางวินัย”
(ถ้ามี)...เป็นการถามเมื่อถูกลงโทษแล้ว ไม่ใช่อยู่ระหว่างการสอบสวน
แต่ถ้าแม้เคยถูกลงโทษแต่ได้ชดใช้โทษจนเสร็จสิ้นแล้ว ก็ถือว่าเป็นผู้ที่บริสุทธิ์
จึงไม่อาจตัดสิทธิ์โดยใช้สำนวนว่าเคยต้องโทษมาก่อน� มิให้รอลงอาญา
จึงดูเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้บริหารไม่กระจายขวัญกำลังใจให้แก่บรรดาสำนักฯทั้งหลายทั้งปวง
ท่านจึงไม่ควรได้รับฉายาว่า...“ผู้ชนะสิบทิศ” ผู้อำนวยการสำนักฯทั้ง 5
สำนักก็ต้องทำใจที่ไม่สามารถสนับสนุนไพร่พลของตนขึ้นสู่ตำแหน่งได้...แต่ควันหลงเริ่มจางแล้ว
เพราะคนไทยลืมง่ายอยู่แล้ว...
��������������� คราวนี้มาพูดถึงเรื่องภาพลักษณ์ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่
9 (อุบลราชธานี) ในเรื่องที่มีข้าราชการถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง 41 คน
ล้มหายตายจากไปแล้ว 2 คน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559
นับถึงเวลานี้ 1 ปี กับอีก 2 เดือน ในคำสั่งให้เวลา 120 วัน ต่อครั้งละ 30 วัน 2
ครั้ง เป็น 60 วันรวมระยะเวลาในการสอบไม่ควรเกิน 180 วัน หากเกินจากนี้ไป อ.ก.พ. กระทรวงต้องเร่งรัดนับตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ไม่ทราบข่าวว่าก้าวหน้าไปถึงไหน
คนผิดมากก็สบายใจ ดึงเกมส์ไปเรื่อย คนผิดน้อยก็ไม่สบายใจอยากจะทราบผลเร็วๆ
ดีว่าจ่ายเงินเดือนให้ใช้ประจำ หากงดจ่ายคงเต้นเป็นเจ้าเข้า นับว่าทางราชการยังเห็นใจเพราะถือว่ายังเป็นผู้ที่บริสุทธิ์อยู่
ระหว่างแต่งตั้งกรรมการสอบสวนหากมีผู้ที่เกษียณ
จะสอบผู้เกษียณได้ต้องอยู่ระยะเวลาหลังเกษียณ 180 วัน
หากพ้นจากนี้แล้วตั้งกรรมการสอบวินัยไม่ได้
และผู้ที่เกษียณที่ถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย
หากรับบำนาญจะต้องหาหลักทรัพย์มาค้ำประกันเงินบำนาญ เพราะทางราชการเกรงว่า
หากจ่ายเงินให้ก่อนเมื่อผลการสอบปรากฏว่าถูกลงโทษให้ ไล่ออก
แสดงว่าไม่ได้รับบำนาญจะริบหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน
เรื่องนี้ก็เป็นประเด็นเช่นกันว่าใช้หลักทรัพย์เท่าใดเพราะมันขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการสอบสวน� ดังนั้น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมทุกฝ่าย คณะกรรมการสอบสวนควรรีบดำเนินการเพื่อสิทธิของผู้อื่นด้วย
และมีอีกข้อที่ข้าราชการจะต้องทราบ คือหากมีการทุจริตหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ทำละเมิดต่อรัฐ
ต้องรีบดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง
ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
เพื่อหาคนรับผิดชอบเงินของรัฐที่สูญเสียไป
ซึ่งทุกคนอาจจะต้องรับผิดชอบไม่เท่ากันแล้วแต่ความผิดของผู้ใด ฉะนั้น
เงินค่าจัดซื้อกล้าไม้ จำนวน 11 ล้าน ที่จ่ายไปใครจะต้องรับผิดชอบเท่าใด
จะทราบจากการสอบสวนของคณะกรรมการโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง...
��������������� และมีเรื่องเตือนใจสำหรับผู้ที่เป็นผู้บังคับบัญชาทั้งหลายเพราะท่านจะต้องรับรู้และรับผิดหรือไม่
กระทรวงการคลังได้มีหนังสือที่ กค 05307/ว92�
ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2544 ในข้อ 6 ระบุว่า “ในการสอบสวนข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิด
โดยเฉพาะกรณีทุจริตหรือเงินขาดบัญชี นอกจากจะพิจารณาให้ผู้กระทำการทุจริตหรือผู้ที่ทำให้เงินขาดบัญชีรับผิดชดใช้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ขอให้พิจารณาด้วยว่า
มีผู้เกี่ยวข้องหรือผู้บังคับบัญชาคนใดกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
ซึ่งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ตามพระราชบัญญัติ ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ.2539 ด้วยหรือไม่”... จึงแสดงให้เห็นว่า... “ของหลวงตกน้ำไม่ไหล
ตกไฟไม้ไหม้จริงๆๆ”
�
 Last updated: 2017-04-22 09:59:11
|
@ ควันหลงแต่งตั้งเจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ ควันหลงแต่งตั้งเจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส
|