อาถรรพ์ไม้พายุ่ง(พะยูง)...ตายยกรัง
หดหู่ใจที่พวกเราชาวป่าไม้ มีความฉลาดที่ไม่เฉลียว แทนที่จะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในทางบวกกลับเป็นว่าพลิกโอกาสไปในทางลบ
�
������������������������ ได้อ่านข่าวมติชนออนไลน์เมื่อวันที่
16 มีนาคม 2559 พาดหัวว่า ทส. สอบวินัยร้ายแรง 41 ขรก.อุทยานแห่งชาติทุจริตกล้าไม้พะยูง
ผอ.สำนักฯ หัวหน้าหน่วยภาคสนาม...ในรายละเอียดใจความว่า...นายสมชัย� มาเสถียร�
���รองอธิบดีกรมป่าไม้
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)ในฐานะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงข้าราชการ
กรณีการทุจริตกล้าไม้พะยูง เปิดเผยว่า นายเกษมสันต์� จิณณวาโส ปลัด
ทส.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งตนเป็นประธานกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงข้าราชการจำนวน 41
ราย กรณีทุจริตกล้าไม้พะยูงคืนถิ่น ในพื้นที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9
(อุบลราชธานี) สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ซึ่งก่อนหน้านี้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่มี นายเก่งกาจ ศรีหาสาร
ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุบลราชธานี (ทสจ.) เป็นประธาน
ได้สอบสวนและสรุปผลการสอบสวนการทุจริตมีมูล โดยการทุจริตดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ
พ.ศ.2555 ในพื้นที่ สบอ.ที่ 9 (อุบลราชธานี) ได้จัดโครงการให้ไม้พะยูงคืนถิ่นขึ้น
เนื่องในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการลักลอบตัดไม้พะยูงจำนวนมาก �����ใช้งบประมาณ 11 ล้านบาท เพาะชำกล้าไม้พะยูง
จำนวน 4 ล้านกล้า โดยให้บริษัทเอกชนดำเนินการเพาะชำกล้าไม้...?
������������������������ รองอธิบดีกรมป่าไม้ ได้กล่าวต่อไปว่า
แต่ปรากฏว่าการเพาะชำกล้าไม้พะยูงเมื่อมีการตรวจสอบพบว่า
ไม่มีการเพาะชำกล้าไม้พะยูงจริง แต่ สบอ.ที่ 9 (อุบลราชธานี)
ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการกลับแอบไปใช้หน่วยงานในสังกัดของตนเพาะชำกล้าไม้พะยูงเองแล้วตั้งเบิกงบประมาณ
พร้อมกับตั้งหัวหน้าหน่วยงานภาคสนามตรวจสอบการจ้าง เหมือนกับการออกข้อสอบเอง
ตรวจข้อสอบเอง การทุจริตจึงเกิดขึ้นพัวพันกันไปหมดตั้งแต่ ผอ.สบอ.9 (อุบลราชธานี)
เข้าไปเกี่ยวข้องหมดจำนวน 41 คน ถือเป็นการทุจริตครั้งใหญ่ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ส่งเอกสารให้ตนถึง
����3 ลังใหญ่
ซึ่งขณะนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้แจ้งข้อกล่าวหาถึงข้าราชการทั้ง 41 ราย
จากนั้นตนจะดำเนินการสอบสวนวินัยร้ายแรงใช้เวลาไม่เกิน 120 วัน โทษมีตั้งแต่ไล่ออก
ปลดออกถึงตัดเงินเดือนและเรียกเงินคืน เนื่องจากงบประมาณที่ใช้จำนวน 11 ล้านบาท
มาจากงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้กรมอุทยานแห่งชาติฯ...
������������������������ นายเกษมสันต์� จิณณวาโส�
กล่าวว่าการตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงเป็นไปตามระเบียบราชการ
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงสรุปผลการสอบสวน
ออกมาว่าการทุจริตมีมูลต้องตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ��ตนคงจะให้ความเห็นอะไรไม่ได้เพราะเป็นเรื่องวินัยร้ายแรง...??
������������������������ ได้อ่านเรื่องนี้แล้วรู้สึกหดหู่ใจที่พวกเราชาวป่าไม้
มีความฉลาดที่ไม่เฉลียว�
แทนที่จะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในทางบวกกลับเป็นว่าพลิกโอกาสไปในทางลบ
เมื่อไม้พะยูงถูกลักลอบตัดฟันเป็นจำนวนมากคิดโครงการฟื้นฟูป่าให้ชื่อสวยหรูว่า “ไม้พะยูงคืนถิ่น”
อุตสาห์ของบและกรมอนุมัติให้ตั้ง 11 ล้านบาท ให้จ้างเอกชนผลิตกล้าไม้พะยูง 4
ล้านกล้า เพื่อจะได้ปลูกทดแทน ซึ่งฟังดูแล้วน่าจะเป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่ผู้ใหญ่ในกรมหรือในกระทรวงยังเห็นความสำคัญของไม้พะยูงพยายามทุกวิถีทางที่จะทดแทนและส่งเสริม�
แต่การหากล้าไม้มาเพื่อที่จะแจกจ่ายไปปลูกนั้นมันผิดปรกติวิสัย
เริ่มแรกการจัดหากล้าไม้พะยูงที่สามารถจะปลูกแล้วรอดตายได้ต้องมีขนาดของความสูง 20
เซนติเมตรขึ้นไป ได้ 30 เซนติเมตร ยิ่งดี และจำนวนไม้ 4
ล้านกล้าจะต้องใช้เนื้อที่ในการวางถุงซึ่งขนาดเรือนเพาะชำมาตรฐานเนื้อที่ 1 ไร่
บรรจุกล้าไม้ได้ 256,000 กล้า หากจำนวน 4 ล้านกล้า ต้องใช้เนื้อที่ 15.6 ไร่
ฉะนั้นเอกชนคนใดที่เพาะชำกล้าไม้ขายจะต้องใช้เนื้อที่ไม่น้อยกว่า 20 ไร่ ในเรื่องข้อเท็จจริงเหล่านี้เราอนุมานได้ว่าคงไม่มีเอกชนคนใดมาทำอาชีพนี้และหากทำไม่รู้จะจำหน่ายให้ใคร
หากผู้ขายอยู่ต่างพื้นที่ยิ่งเป็นไปได้ยากขึ้น
เนื่องจากการขนส่งกล้าไม้มีปัญหานานับประการ ไหนจะค่าขนส่งสูง กล้าไม้เหี่ยวเฉา
ไม่มีสถานที่เก็บรักษา สามัญวินิจฉัยพื้นๆแค่นี้ คนของบมาจัดจ้างน่าจะทราบดี� แต่เอาละหากตนเองคิดว่าหาคนมาจำหน่ายให้ได้ก็ไม่ว่ากัน
แต่สำหรับคนที่อนุมัติเงินโครงการไม่น่าจะเห็นชอบด้วย แต่เมื่ออนุมัติเงินมาให้จัดจ้างโดยไม่เฉลียวใจเลยว่าหาคนรับจ้างทำของได้ที่ไหน
ไม่มีการทวงถามหรือทักท้วงแต่ประการใดจะไม่เป็นการประมาทเลินเล่อเกินไปหรือ
หากมีคนคิดในแง่ลบเขาอาจคิดว่าเบื้องบนมีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการอนุมัติงบประมาณแม้แต่การกล่าวหาว่าแจกจ่ายให้หน่วยงานภาคสนามไปเพาะ
มันก็มีข้อจำกัดไม่ทราบว่าการเพาะชำถูกต้องตามฤดูกาลหรือไม่ ขอให้กลับไปอ่านบทความเรื่อง“รอดมาได้...เพราะไม่โลภ”
ของ ทศ สถาปัตย์ ดู� กรมส่งงบมาให้ปลายปีมีเวลา
2 เดือนเพื่อเพาะชำกล้าไม้และแจกจ่ายให้หมด
หัวหน้าฝ่ายเพาะชำยังต้องรีบส่งคืนเงินเพราะผิดฤดูกาล จึงรอดมาได้� ดังนั้น หน่วยงานภาคสนามที่รับโค้วต้าไปเพาะชำจึงอาจทำได้สองกรณี
คือเพาะชำกล้าไม้จริงแต่ไม่ได้ขนาดจำกัด สองเพาะชำไม่ได้เลย เพราะผิดฤดูกาล
เวลามีการตรวจการจ้างก็ลงนามรับรองเท็จไป
หากเป็นไปในทางที่ไม่สามารถจัดมาได้จึงเป็นเหตุให้ราชการเสียหายอย่างร้ายแรง
ผู้กระทำจึงต้องผิดวินัยอย่างร้ายแรง หากข้อเท็จจริงพิสูจน์ว่าทุจริต
โทษไม่เพียงแค่ไล่ออกเท่านั้นยังต้องคดีอาญามีโทษถึงจำคุก...พึงสังวร...??
������������������������ มาดูการจัดซื้อจัดจ้างบ้าง
เขาดำเนินการอย่างไร...ตามที่ได้ติดตามข่าวว่าเป็นการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ เป็นขบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่มีข้อจำกัดและหากหลีกเลี่ยงได้จะเป็นการดี
แต่เป็นที่ชื่นชอบของบางคน วิธีพิเศษ คือการซื้อหรือการจ้างซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท �ซึ่งส่วนมากการซื้อการจ้างเป็นงานเร่งด่วนหากล่าช้าอาจเสียหายแก่ราชการหรือการซื้อการจ้างโดยวิธีการอื่นไม่ได้ผลดี� ขั้นตอนก็มีการกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะและกำหนดราคากลาง� จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างต่อหัวหน้าส่วนราชการ
พร้อมแต่งตั้งคระกรรมการตรวจรับของหรือตรวจการจ้างผู้มีอำนาจอนุมัติ
ต่อไปทำหนังสือเชิญชวนผู้มีอาชีพขายหรือจ้างให้มาเสนอราคา คณะกรรมการพิจารณาผลผู้เสนอราคาที่มีคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อทางราชการและนำเสนอหัวหน้าส่วนราชการสั่งซื้อสั่งจ้าง� เสร็จแล้วเรียกตัวมาทำสัญญา หากวงเงินเกิน 1
ล้านบาท ให้ส่งสำเนาสัญญาให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน( สตง.)และสรรพากรพื้นที่และคณะกรรมการตรวจการจ้าง
หากไม่มาทำสัญญาถือว่าทิ้งงาน�
ที่นำแนวทางมาเสนอเพื่อท่านผู้อ่านจะได้มองภาพชัดเจนขึ้น...
������������������������ เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงตรวจสอบพบว่ามีการกระทำที่ไม่ชอบมีมูลความผิดไปในทางทุจริต
ความผิดดังกล่าวจึงเข้ามาตรา 85(1)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต...นิยามคำว่า “โดยทุจริต”
หมายถึง การแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้เพื่อตนเองหรือผู้อื่น� การสอบวินัยร้ายแรงครั้งนี้ ท่านสมชัย� มาเสถียรท่านบอกว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จใน
120 วัน นับว่าเร็วมาก ที่ตั้งข้อสังเกตว่าทำไมถึงเร็ว
เพราะผู้เขียนเคยเป็นกรรมการเลขานุการสอบวินัยร้ายแรงข้าราชการ 14 คน
โครงการส่งเสริมเกษตรกรปลูกป่า ใช้เวลา 1 ปีกับอีก 3 เดือน นำเอกสารส่งกรม 40
แฟ้มใหญ่ เอกสารรวมกันประมาณ 10,000 กว่าหน้า
การสอบสวนวินัยหากคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงสอบมาดีรัดกุมติดตามเอกสาร
เก็บข้อเท็จจริงมาไว้หมดแล้วการสอบสวนวินัยจะเร็วมาก
หากกรรมการสอบข้อเท็จจริงทำมาหละหลวมต้องมาแสวงหาหลักฐานในขั้นสอบวินัยซึ่งเหตุการณ์ผ่านมานาน
อาจทำให้หลักฐานต่างๆที่ได้มาใหม่ไม่สมบูรณ์ กรณีนี้สอบข้อเท็จจริงเมื่อปี 2555
มาสอบวินัยปี 2559 หากแสวงหาหลักฐานเพิ่มเติมคงจะหาไม่ง่ายนัก �แต่ทีมงานระดับรองอธิบดี
คงมีแต่มือชั้นครูทั้งนั้นคงไม่ยากนัก
ขอให้รีบปิดคดีให้ได้โดยเร็วเพื่อจะได้เป็นตัวอย่างให้บรรดาที่คิดจะทำหรือกำลังทำอยู่จะได้เกรงกลัวต่ออาญาแผ่นดิน
และขจัดคนไม่ดีออกจากสังคม คิดว่าไม่น่าจะเป็นมวยล้มต้มคนดูตามที่ได้ยินได้ฟังมาจากบางคนที่ปรามาส...�������������������
������������������������ เอาใจช่วย
ท่านรองฯ คาดว่าเดือนกรกฎาคม นี้คงรู้ผล สำหรับผู้ถูกสอบสวนคงซึ้งใจดีซิว่า เล่นกับไม้อะไร�� ไม่เล่น มาเล่นกับไม้พายุ่ง...???
 Last updated: 2016-03-23 21:12:10
|
@ อาถรรพ์ไม้พายุ่ง(พะยูง)...ตายยกรัง |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ อาถรรพ์ไม้พายุ่ง(พะยูง)...ตายยกรัง
|