�
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับตัวเลขในเรื่องเสียก่อน
ประเทศไทยนั้นนักวิชาการได้มีความเห็นว่าควรมีเนื้อที่ป่า 40
เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ คือ 128 ล้านไร่ ซึ่งปัจจุบันนี้มีอยู่เพียง 102 ล้านไร่
ยังขาดอยู่อีก 26 ล้านไร่
เรื่องการทวงคืนผืนป่านี้ได้รับการเปิดเผยจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันที่ 2 ตุลาคม
2558 หน้า 15 ว่า “ทส.โอดเกิดใหม่ 10 ชาติถึงได้ป่า 26 ล้านไร่”
เนื้อหามีว่า ป่าที่ยังขาดอยู่ 26
ล้านไร่ของไทยจะถูกบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
ซึ่งจะเริ่มประกาศใช้ในปี 2560 และมีการประเมินตัวชี้วัดคุณภาพการทำงาน(เคพีไอ)
ของ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการดูแลพื้นที่ป่าของประเทศถ้าไม่สำเร็จ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะถูกตัดงบประมาณลงปีละ 3 – 4 หมื่นล้านบาท
อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานในการดูแลรักษาป่าของประเทศใหม่...!!?
เรื่องนี้นายสุพจน์
โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวว่า
ยอมรับว่าการเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ 26 ล้านไร่ภายในระยะเวลา 10 ปี
เป็นไปได้ค่อนข้างยาก�
ต้องตายแล้วเกิดใหม่ประมาณสิบชาติจึงจะสำเร็จ เนื่องจากการเพิ่มพื้นที่ป่าทั้งป่าสงวนแห่งชาติ
และป่าอนุรักษ์ ไม่ใช่เรื่องง่าย�
ติดทั้งปัญหามวลชนในพื้นที่ที่ไม่เห็นด้วย และการตรวจสอบสิทธิ์ที่ล่าช้า
การทวงผืนป่าที่ผ่านมา กรมป่าไม้ตั้งเป้าในปี 2558 ให้ได้ 400,000 ไร่
แต่ได้คืนมาเพียง 1.2 แสนไร่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตั้งเป้า 2
แสนไร่ แต่ได้คืน 7 หมื่นไร่เศษ โดยพื้นที่ที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทวงคืนมาส่วนใหญ่บุกรุกด้วยการปลูกยางพารา
โดยมี 12 จังหวัดที่วิกฤต ได้แก่ พิษณุโลก 2.3 หมื่นไร่ เลย 1.5 หมื่นไร่ กระบี่
9,300 ไร่ นครพนม 5,300 ไร่ ตาก 5,200 ไร่ สุโขทัย 5,000 ไร่ กาญจนบุรี 4,900 ไร่ เพชรบูรณ์
4,700 ไร่ อำนาจเจริญ 4,500 ไร่ น่าน 4,500 ไร่ นครราชสีมา 4,300 ไร่ อุดรธานี
4,000 ไร่....?
จากการข่าวที่ได้รับทำให้คิดไปได้สองทาง
ทางบวกขนาดผู้บริหารระดับสูงขั้นรองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ออกปากว่าเป็นการยากเช่นนี้แล้ว แสดงว่าท่านยอมรับความจริง
การทวงคืนผืนป่านั้นหากรับฟังว่าไม่ได้เป็นการกล่าวประชดประชัน ย่อมเป็นความจริง
ระยะเวลา 10 ปีจะเอาป่าคืนมา 26 ล้านไร่ คิดแล้วต้องทวงมาให้ได้ปีละ 2.6 ล้านไร่
ท่านจึงต้องบอกตายแล้วเกิดใหม่ 10 ชาติ น่าจะเป็นจริง...
ถ้ามองในแง่ลบ
ผู้นำระดับสูงมาหมดหวังท้อแท้ใจหรือที่เราเรียกว่า มวยยังไม่ต่อย
เลยมาถอดใจเสียแล้วลูกพี่ลูกน้องย่อมระส่ำ
หากเอาผลงานเก่ามาลองเปรียบเทียบวิเคราะห์ดู ในปี 2558 กรมป่าไม้ทวงคืนได้ 1.2
แสนไร่ หากเป็นเวลา 10 ปีจะได้ป่าคืน 1.2 ล้านไร่�
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ทวงมาได้ 7 หมื่นไร่ ในเวลา 10 ปี
จะได้ป่า 7 แสนไร่ รวมกับ 1.2 ล้านไร่ภายใน 10 ปีข้างหน้าจะได้ป่า 1.9 ล้านไร่
นับว่าไม่น้อย ในปีหนึ่งจะขาดจากเป้า 2.6 ล้านไร่ไปทั้งสิ้น 9 แสนไร่ถ้าเป็นเวลา
10 ปีจะขาดไป 9 ล้านไร่ หากเราทำได้ตามมาตรฐานปัจจุบันภายใน 10 ข้างหน้าเอา 2.6
ล้านไร่ลบด้วย 1.9 ล้านไร่ เท่ากับ 7 แสนไร่คิด 10 ปีเป็น 7 ล้านไร่เท่านั้นเอง
ดังนั้นในแต่ละปีที่เคยทวงได้ 1.9 ล้านไร่ ต้องทวงเพิ่มอีกปีละ 700,000 ไร
สู้...สู้...ๆๆๆ
จากตัวเลขการทวงคืนผืนป่าในปัจจุบันหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เราจะทวงคืนผืนป่าภายใน
10 ปีข้างหน้าได้ถึง 73.08 เปอร์เซ็นต์ นับว่าสอบผ่าน เราลองดูกรรมวิธีในการทวงคืนผืนป่าในชั้นแรกเอาจากป่าสงวนแห่งชาติเสียก่อน
คราวนี้มาดูองค์กรที่ทำหน้าที่บ้าง กรมป่าไม้ที่ยังมีหน่วยป้องกันรักษาป่าภายใต้การควบคุมและมีการจัดตั้งสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ประจำจังหวัดขึ้นมาแทนป่าไม้เขตควบคุมอีกชั้นหนึ่ง
หน้าที่ด่านแรกจะต้องปฏิบัติก็คือหน่วยป้องกันรักษาป่าที่มี 527 หน่วยทั่วประเทศ
เรามี 12
จังหวัดที่วิกฤตว่ามีหน่วยงานใดควบคุมบ้างซึ่งคงไม่พ้นหน่วยป้องกันรักษาป่า
และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเริ่มจาก...
1.จังหวัดพิษณุโลก
มีพื้นที่ถูกบุกรุก 2.3 หมื่นไร่ มีหน่วยป้องกันรักษาป่า จำนวน 12 หน่วย
2.จังหวัดเลย������� มีพื้นที่ถูกบุกรุก 1.5 หมื่นไร่
มีหน่วยป้องกันรักษาป่า จำนวน 13 หน่วย
3.จังหวัดกระบี่
มีพื้นที่ถูกบุกรุก� 9,300� ไร่ มีหน่วยป้องกันรักษาป่า จำนวน� 5 หน่วย
4.จังหวัดนครพนม� มีพื้นที่ถูกบุกรุก� 5,300�
ไร่ มีหน่วยป้องกันรักษาป่า จำนวน��
2 หน่วย
5.จังหวัดตาก������� มีพื้นที่ถูกบุกรุก�� 5,200�
ไร่ มีหน่วยป้องกันรักษาป่า จำนวน 19 หน่วย
6.จังหวัดสุโขทัย���� มีพื้นที่ถูกบุกรุก�� 5,000�
ไร่ มีหน่วยป้องกันรักษาป่า จำนวน 11 หน่วย
7.จังหวัดกาญจนบุรี
มีพื้นที่ถูกบุกรุก�� 4,900� ไร่ มีหน่วยป้องกันรักษาป่า จำนวน 16 หน่วย
8.จังหวัดเพชรบูรณ์
มีพื้นที่ถูกบุกรุก�� 4,700� ไร่ มีหน่วยป้องกันรักษาป่า� จำนวน 11 หน่วย
9.จังหวัดอำนาจเจริญ
มีพื้นที่ถูกบุกรุก�� 4,500� ไร่ มีหน่วยป้องกันรักษาป่า จำนวน� 4 หน่วย
10.จังหวัดน่าน������� มีพื้นที่ถูกบุกรุก�� 4,500�
ไร่ มีหน่วยป้องกันรักษาป่า จำนวน 23 หน่วย
11.จังหวัดนครราชสีมา
มีพื้นที่ถูกบุกรุก� 4,300� ไร่ มีหน่วยป้องกันรักษาป่า จำนวน 9 หน่วย
12.จังหวัดอุดรธานี���� มีพื้นที่ถูกบุกรุก�� 4,000�
ไร่ มีหน่วยป้องกันรักษาป่า จำนวน 13 หน่วย
พื้นที่บุกรุกส่วนใหญ่ใช้ปลูกยางพาราเป็นส่วนใหญ่
ดูจากตัวเลขมีจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดเลย ถูกบุกรุกเป็นหลักหมื่นไร่ขึ้นไปแต่ว่าทั้งสองจังหวัดคงมีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติไม่น้อยเช่นกัน
การบุกรุกแล้วปลูกพืชไร่นั้นยึดคืนมาง่ายกว่าพื้นที่ปลูกพืชสวน เช่นยางพารา
พื้นที่ที่ถูกบุกรุกที่นำเสนอนี้ ผู้เขียนขอเสนอแนวทางในการทวงคืนผืนป่า
ในท้องที่ที่มีป่าเรามีหน่วยงานดูแลรักษาป่าอยู่ติดพื้นที่คือ
หน่วยป้องกันรักษาป่า 527 หน่วย อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งมีหน่วยพิทักษ์ป่า
กระจายอยู่ครอบคลุมพื้นที่ ทำไมไม่ใช้หน่วยงานเหล่านี้อย่างจริงจัง
ทั้งที่มีศักยภาพ หากเห็นว่าทุกหน่วยงานที่ว่านี้ขาดประสิทธิภาพ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ก็สามารถเพิ่มขีดความสามารถให้กับพวกเขาเหล่านี้ได้ อยู่เพียงว่าจะทำหรือไม่ เรามีหน่วยงานที่จัดตั้งเป็นหลักแหล่งมีเจ้าหน้าที่ประจำ
มียานพาหนะ ผู้เขียนเคยเป็นหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่ามายาวนาน พอจะทราบจุดอ่อนจุดแข็งอยู่ไม่น้อย
แต่ไม่สามารถนำมาเรียบเรียงให้อ่านได้ชั่วระยะเวลาอันสั้น
เอาเป็นว่าหากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเมินศักยภาพว่าทำได้ก็เดินหน้าได้ทันทีจะมัวรออะไรอยู่
แต่ถ้าหากประเมินคนของตนว่าต่ำ�
ขอแนะนำว่าก่อนทำงานควรยกระดับเสียก่อน หากเป็นคอมพิวเตอร์ ก็ยกไปให้ร้าน
“อัพเกรด”� หากเป็นรถยนต์ก็ “ยกเครื่อง(Overhaul)” หากไม่เร่งรีบตรวจสอบกำลังพล เพียงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยตั้งหน่วยเฉพาะกิจ
“พยัคฆ์ไพร” คงจะไม่ทันการ เพิ่มอัตรากำลัง เสริมความรู้ทักษะในการตรวจยึด
เพิ่มยานพาหนะ ซึ่งปัญหาป่าถูกบุกรุกมากมายที่ทุกคนในประเทศมองเห็นร่วมกัน เช่นนี้
จะทำงบประมาณคงไม่มีใครใจดำที่จะคัดค้านขอให้ทำจริง...??
สำหรับการทวงคืนผืนป่าที่มีเอกสารสิทธิ์ก็ควรจัดลำดับและให้ความสำคัญในระดับหนึ่งว่าส่งทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องกฎหมายและการตรวจพิสูจน์ภาพถ่ายทางอากาศ� ซึ่งก็กำลังดำเนินการอยู่ทั้งที่อุทยานแห่งชาติทับลาน
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ นับว่ามีความยากไม่น้อย เพราะการจะเสนอให้อธิบดีกรมที่ดินเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเป็นคนออกย่อมไม่ง่ายนัก
และอีกทั้งผู้ได้รับสิทธิเมื่อถูกเพิกถอนสิทธิย่อมต้องมีการฟ้องร้องเป็นธรรมดา
ล้วนเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างรัดกุมเพราะเรื่องลักษณะเช่นนี้ส่วนใหญ่จะต้องจบที่ศาล
และผู้ที่เกี่ยวข้องย่อมไม่อยากข้องแวะกับมัน�
เพราะแม้เกษียณแล้วยังต้องขึ้นโรงขึ้นศาล
คิดว่าคงไม่มีใครอาสาที่จะทำต้องบังคับจึงจำยอม�
เรื่องนี้ควรอยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาระดับสูง
ขอเพียงอย่าส่งเบี้ยไปสู้ขุนก็แล้วกัน �จงเชื่อว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
การที่จะโยนเรื่องให้หน่วยงานอย่าง ดีเอสไอ. ป.ป.ช.ปปท.
นั้นควรเป็นด่านสุดท้ายที่เราหมดหนทางแล้วเท่านั้นเพราะหน่วยงานที่กล่าวถึงนี้ล้วนแต่มีภารกิจของตนมากอยู่แล้ว� หากเรามีความตั้งใจที่แน่วแน่
คงไม่ต้องรอถึงชาติหน้าหรือชาติไหนหรอก ขอให้ทำจริงจังในชาตินี้ ป่าจำนวน 26
ล้านไร่ภายใน 10 ปีเราน่าจะทวงคืนมาได้เห็นมีคนอาสาจะขึ้นเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อมจังหวัด
(ทสจ.)และผู้อำนวยการสำนักกันเป็นแถวลองให้ไปลองทำดู สำหรับผู้เขียนแล้ว
ขอเพียงผู้บังคับบัญชาอย่าเอาแต่นั่งบนหอคอยงาช้าง หรือนั่งอยู่บนอาร์มแชร์เท่านั้น� แต่ควรพยายามเข้าไปนั่งอยู่ในหัวใจของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนด้วย...???

Last updated: 2015-10-16 18:12:51