ได้อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐตั้งแต่วันที่
31 กรกฎาคม 2558 แล้วว่า ฯพณฯ
ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้เปิดเผยผู้บุกรุกป่าต้นน้ำ สรุปใจความสำคัญว่า สถานการณ์พื้นที่ป่าต้นน้ำถูกคุกคามอย่างรุนแรงในประเทศไทยโดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางจังหวัด
มีถึง 13 จังหวัด ถูกบุกรุกกลายเป็นเขาหัวโล้นถึง 8.6 ล้านไร่
โดยเฉพาะจังหวัดเลยมีพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก 1,076,809.70 ไร่� หรือร้อยละ 28.09 เปอร์เซ็นต์
ของพื้นที่ป่าในจังหวัด และพื้นที่ป่าในจังหวัดน่าน ถูกบุกรุก 1,180,859.49 ไร่
และผู้ที่บุกรุกในพื้นที่ 13 จังหวัด มีอยู่ประมาณ 100,000 คน โดยร้อยละ 80
เป็นชาวไทยบนพื้นที่สูง ร้อยละ 10 เป็นชาวไทยพื้นที่ราบ อีกร้อยละ 10 เป็นนายทุน
มีข้อมูลสำคัญพื้นที่บุกรุกนำไปทำการเกษตร อาทิปลูกข้าวโพดร้อยละ 60
ยางพาราร้อยละ� 30 อีกร้อยละ 10
เป็นพื้นที่อื่นๆเช่น อ้อย มันสำปะหลัง กะหล่ำปลี เป็นต้น
ในเรื่องการบุกรุกดังกล่าวนี้ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้วางยุทธศาสตร์ทางแก้ไว้
7 ข้อ และจะทวงคืนผืนป่าให้ได้ร้อยละ 60 – 70 เพื่อคืนสภาพเป็นป่าต้นน้ำ
ได้ดูภาพพื้นที่ถูกบุกรุกจากไทยรัฐออนไลน์แล้วสภาพภูเขาถูกบุกรุกไม่น่าเรียกว่าเขาหัวโล้นแต่ควรเรียกใหม่ว่า
“เขาหัวล้าน”จะเหมาะกว่า ผู้เขียนเคยเดินบนดอยที่เชียงรายมาแล้วหลายดอย
ชาวเขาในช่วงนั้นเริ่มจะเลิกปลูกฝิ่นแล้ว แต่ยังคงมีให้เห็นอยู่ประปราย
ได้เคยเดินตามไร่ฝิ่นดูชาวดอยเขากรีดดอกฝิ่นเอาน้ำยางสีดำ ในสมัยนั้นเรียก แม่ทองดำ
การบุกรุกพื้นที่ก็เหมือนกับทุกภาค คือตัดฟันไม้ใหญ่ลงให้หมดเก็บริบ
สุมเผาพอปลูกพืชจนดินหมดสภาพก็ย้าย ที่เราเรียกไร่ที่เกิดจากชาวเขาว่า
“ไร่เลื่อนลอย” แต่ไร่ที่ถูกทิ้งต่อมาสัก 2 –3 ปี
กลับไปจะเต็มไปด้วยวัชพืชบางแห่งสูงท่วมศรีษะก็มี ลักษณะพวกนี้จะเรียกว่า
เขาหัวโล้น ในตอนที่เกิดภาวะภัยแล้งเมื่อเดือนกรกฎาคม
ผู้เขียนได้ติดตามข่าวสารว่าทำไมน้ำจึงได้แห้งขอดขนาดนี้
แหล่งข่าวที่ติดตามคือโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รายการข่าว 3
มิติ เนื่องจากทางรายการได้เกาะติดสถานการณ์โดยใช้เฮลิคอปเตอร์
ในนาม สกายรีพอร์ท บินสำรวจ ในตอนแรกติดตามเรื่องน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
จังหวัดลพบุรี โดยได้บินสำรวจแหล่งน้ำและตามไปจนถึงป่าต้นน้ำที่ อำเภอหล่มสัก
หล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
ภาพที่ปรากฏเป็นพื้นที่ถูกบุกรุก เป็นเขา หัวล้าน เช่นเดียวกัน� อยู่ทางเหนือมาเคยเห็นแต่ถางป่าจากล่างไปบน
แต่ภาพที่เห็นจากเฮลีคอปเตอร์หากเป็นคนหัวล้านเกือบทั้งหัวมีผมบ้างข้างๆหู
และดินก็เป็นสีแดงไม่มีวัชพืชคลุมดินอยู่เลย หากปลูกพืชก็คงเป็นพืชไร่อายุสั้น
สร้างความฉงนสนเทห์ ให้กับตัวเอง พื้นที่เป็นสันเขาแทบทั้งสิ้น คนเป็นเจ้าของจะปลูกอะไร
แม้แต่อยู่อาศัยก็ลำบาก เพราะสันเขาไม่มีแหล่งน้ำให้
ต้องเดินลงไปด้านล่างที่มีห้วยจึงจะได้น้ำ มีแต่คนเขาปลูกตามริมห้วยหรือเชิงเขา
หากลาดชันหน่อยก็ทำเป็นขั้นบันได
จึงเป็นปริศนาให้ต้องขบคิดตีโจทย์ที่มีอยู่ในใจหลายข้อดังนี้...?
ข้อที่
1.ตามภาพพื้นที่ระดับสูงขนาดสันเขาและมีแต่พื้นดินไม่มีน้ำอาศัยหมอกในยามเช้าให้น้ำควรปลูกพืชอะไร
แต่มีคำตอบตามข่าว ว่าปลูกข้าวโพดร้อยละ 60 ยางพาราร้อยละ 30
อีกร้อนละ 10 เป็นอ้อย
มันสำปะหลังและกะหล่ำปลี...
ข้อนี้สำหรับยางพาราพอจะหาคำตอบได้ว่าปลูกได้ทั่วไป
ตั้งแต่ตีนเขาจนถึงยอดเขามีการส่งเสริมให้ปลูกมานานแล้วและยิ่งในปีที่ผ่านมา 2–3
ปีราคายางพาราสูงยิ่งมีการบุกรุกปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น
อ้อยและกะหล่ำปลีก็ปลูกได้ แต่ควรจะอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก สำหรับอ้อยแม้จะทนแล้งปลูกในระดับสูงได้แต่การขนส่งไม่อำนวย
ยังเหลือพืช 2 ชนิดคือข้าวโพดและมันสำปะหลังที่สามารถปลูกในที่สูงได้
และมีการปลูกถึงร้อยละ 60 ถ้าคิดจาก 8.6
ล้านไร่จะมีการปลูกข้าวโพด 5.16 ล้านไร่ แล้วจะปลูกข้าวโพดขายให้ใคร คนซื้อจะซื้อไปทำอะไร
สำหรับมันสำปะหลังนั้นปลูกน้อยเพราะในที่ราบมีการปลูกอยู่แล้ว
มีปัญหาคาใจอยู่ที่ข้าวโพดเท่านั้นว่าปลูกอะไรมากมายนัก ใครจะมารับซื้อ...???
ข้อที่
2.พื้นที่ถูกบุกรุกมากมายเช่นนี้ เจ้าของพื้นที่ไม่ว่า ป่าไม้ ฝ่ายปกครอง
ทหาร ตำรวจไม่มีบทบาทอะไรบ้างหรือยังไง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่โดยตรงคือ
กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ไปไหนกันหมด เพราะคำว่าป่าต้นน้ำวิกฤติ
คือหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ลองพลิกวิกฤติตรงนี้ให้เป็นโอกาสดู
เพราะจากข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2558
หน้า 15 ขึ้นหัวข้อข่าวว่า “ปลัด ทส.เอาจริงคาดโทษวิ่งเต้น”ลองใช้วิธีแต่งตั้งเหมือนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ดูซิว่าเป็นอย่างไร พื้นที่ใดมีบ่อน มียาเสพติด มีการขายสุราใกล้สถานศึกษา
ย้ายเข้ากรุสถานเดียวเท่าที่รับราชการมายังไม่เคยเห็นกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทำเช่นนี้
มีเพียงอุทยานแห่งชาติถูกบุกรุกหนักก็ย้ายสับเปลี่ยนไปอยู่อุทยานแห่งชาติอื่นที่มีปัญหาน้อยกว่า������ ขอแนะนำให้ใช้วิชาง่ายๆในการพิจารณาบุคคลว่า
“ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน”
เรื่องอื่นค่อยมาว่ากันอีกทีแก้ปัญหาเอาคนขยันมาทำงานก่อน...
และแล้วปัญหาคาใจก็จบลงเมื่อหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันที่
12 สิงหาคม 2558คอลัมน์ “จดหมายเหตุประเทศไทย”ในเรื่อง
“ป่าต้นน้ำ– ชีวิตของแผ่นดิน”เป็นคำตอบที่ดีที่สุด จึง
ขอคัดเอาบางตอนที่สำคัญมาเผยแพร่ สำหรับท่านที่ไม่ได้อ่าน ดังนี้ ......
“โดยเฉพาะป่าต้นน้ำจังหวัดน่าน ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของแม่น้ำเจ้าพระยา
น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา 40 เปอร์เซนต์
มาจากป่าต้นน้ำในจังหวัดน่านเวลานี้นายแบงค์ใหญ่ “เสี่ยปั้น”คุณบัณฑูร� ล่ำซำ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกสิกรไทย
กำลังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำน่านที่ถูกทำลายไปปีละ 150,000 ไร่ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจังหวัดน่าน มี 6,541,696.53 ไร่ ถูกประชาชนและชาวเขาบุกรุกไปปลูกพืชไร่แล้ว 1,944,490 ไร่ หรือกว่าร้อยละ� 21 ของป่าทั้งหมดเพื่อปลูก
ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์�
โดยมีนายทุนจากกรุงเทพฯ ขึ้นไปรับซื้อข้าวโพดในราคาถูก
เท่ากับส่งเสริมให้มีการทำลายป่าต้นน้ำเพิ่มขึ้นทุกปี เพื่อปลูกข้าวโพดราคาถูก ขาย
จาก
งานวิจัยของบริษัท
ป่าสาละ จำกัด ที่ได้รับการสนับสนุนจาก UNDP และ UNEP สหประชาชาติ พฤติกรรมของเกษตรกรรายย่อย (ส่วนใหญ่เป็นชาวเขา)
ที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่สูงชันก่อให้เกิดปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
นอกจากไม่เหมาะต่อการเพาะปลูกแล้วยังบุกรุกป่าต้นน้ำอีกด้วย งานวิจัยระบุด้วยว่า
โรงงานอาหารสัตว์ที่รับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรรายย่อยเหล่านี้คือ เบทาโกร และซีพี
โดยเบทาโกรมีส่วนแบ่งสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ ซีพี
มีส่วนแบ่งเพียง 28 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น แต่เบทาโกรทำตัวเงียบไม่เป็นข่าว
ปล่อยให้ ซีพีถูกด่าคนเดียว”
��������������� คราวนี้มาถึงเรื่องที่ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการขอร้องไม่ให้มีการวิ่งเต้นตำแหน่ง
จากที่ผู้เขียนได้เสนอให้ว่าต้องดูที่ผลงานเมื่อมีนโยบายต้องการทวงคืนผืนป่าให้ได้กลับคืนมา
ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร คนใดทวงมาได้มากก็แต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักฯได้เลย
และส่งผลบุญให้หัวหน้าซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักฯได้ไปดำรงตำแหน่งรองอธิบดีไม่น่าจะเสียหายเพราะช่วยกันทำงาน
ไม่ต้องไปเปิดตำราการบริหารงานบุคคลให้เปลืองสมองเรื่องนี้จึงสรุปได้ว่า...ใครเป็นผู้ทำลายป่าต้นน้ำ
ตอบโจทย์ได้เลยว่า...��
“ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์”...?

Last updated: 2015-08-28 05:28:06