�
หลังจากเสร็จศึกกับหน่วยงานตรวจเงินแผ่นดิน
ภาคบ่ายเข้าสำนักงานสายหน่อยดูเวลา 14.00 น.
เห็นคุณช้างกำลังนั่งพิมพ์หนังสือรายงานกล้าไม้ของสถานีที่ตนเองเป็นหัวหน้าเพื่อรายงานเขต
พอดีกับมีบุรุษหุ่นอาเสี่ยเปิดประตูเข้าห้องมาก่อนที่จะนั่งร้องทักคนพิมพ์หนังสือ...
!!
“เฮ้ย
ช้างฝากพิมพ์รายงานกล้าไม้ของสถานีอุบลราชธานีให้ด้วยซิ”
คนพิมพ์แทนที่จะตอบคนเข้ามา
พูดโดยไม่ได้หันหลังมามองว่า...
“พี่ทศ
ท่านเขตแวะมาหาพี่แล้วสั่งว่า...”
“บอกไอ้ทศมันด้วย
พรุ่งนี้ไปประชุมแทนอั๊วหน่อย รายละเอียดอยู่ในหนังสือบนห้องอั๊ว
ตอนแรกว่าจะให้กลุ่มงานวิชาการไป แต่ให้ไอ้ทศไปดีกว่า ท่าทางจะมีกึ๋นกว่าใครๆ”
ข้าพเจ้าฟังเจ้าช้าง
กิตติชัย เจริญขวัญ พูดจบแต่ไม่ได้ติดใจรอหนังสือ
ยังไม่ทันที่ความคิดจะสะดุดหยุดลง เจ้าหน้าที่ธุรการหอบหนังสือมาส่งให้ รับมาอ่านเป็นหนังสือจากสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
มีมาถึงป่าไม้เขต เด็กหน้าห้องเปิดซองแล้วนำเรียนป่าไม้เขต ท่านจึงเกษียณสั่งทันที
ท่านป่าไม้เขตเสงี่ยม� เป็นผู้บังคับบัญชาที่กล้าตัดสินใจและรู้งานแทบทุกเรื่อง
บางเรื่องท่านไม่ต้องให้ฝ่ายเสนอก่อน ท่านมีความเห็นอย่างไร
ในตอนตรวจเอกสารครั้งแรกที่เปิดซอง ท่านจะสั่งการทันที� ข้าพเจ้าหยิบขึ้นมาดูเป็นการขอเชิญหัวหน้าส่วนหรือผู้แทนส่วนราชการประชุม�
เพื่อดำเนินกิจกรรมการปลูกป่าเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี� ณ ห้องประชุมมณฑลทหารบกที่ 22 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์
อำเภอวารินชำราบ� จังหวัดอุบลราชธานี เวลา
10.00 น. และระบุวาระการประชุมสรุปว่าจะปลูกต้นไม้อะไร ที่ไหน จำนวนเท่าใด
พออ่านจบ ก็ส่งให้คนนั่งรอ พร้อมมีคำถามตามไปว่า...
“คุณสมโภชน์
อ่านดูซิ พรุ่งนี้ไปกับผมก็แล้วกัน”
คราวนี้เจ้าช้างสงสัยถามขึ้นบ้างว่า...� “ประชุมอะไรพี่โภชน์ เห็นเขตเจาะจงตัวพี่ทศ”
สมโภชน์จึงตอบไปว่า...
“เรื่องนี้มันเหมาะกับนายนี้หว่า พี่ทศน่าจะเอาคุณไป”
แล้วสมโภชน์ก็เอาหนังสือให้เจ้าช้างอ่าน
ข้าพเจ้าเห็นทั้งคู่เกี่ยงกันจึงพูดเตือนสติว่า...
“ถ้าจะเอาคุณวุฒิแล้วพวกคุณทั้งสองมีความเหมาะสมทั้งคู่
เพราะต่างจบปริญญาโทมาทั้งนั้น ผมเสียอีก ปอ ตรี แต่ในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายผมจึงปฏิเสธไม่ได้
เป็นว่าสมโภชน์อาวุโสไปกับผม”
วันรุ่งขึ้น
พอได้เวลา 10.00 น. สมโภชน์นำรถยนต์ส่วนตัวมารับที่หน้าห้องฝ่ายเพาะชำกล้าไม้
เราทั้งสองเดินทางมาถึงห้องประชุมก่อนกำหนด 15 นาที
ในตอนแรกคิดว่าประชุมในห้องประชุมใหญ่ แต่วันนี้มีการประชุมเรื่องที่มีความสำคัญของกองทัพ� จึงมากางเต้นในสนามทำเป็นห้องประชุมแทน
แต่ก็สะดวกสบายดี�
จัดโต๊ะประชุมเป็นรูปตัวยู หันหน้าเข้าหากัน�
หัวโต๊ะเป็นประธานพอถึงเวลาบรรดาท่านผู้เกี่ยวข้องจากส่วนราชการต่างเข้ามานั่งประจำที่
ประมาณ� 30 คน �ท่านประธานเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัด
อุบลราชธานี ความอยากรู้ว่ามีใครเข้าประชุมบ้างหยิบเอกสารที่เจ้าหน้าที่วางไว้มาพลิกอ่าน�
ซึ่งเป็นคำสั่งจังหวัดแต่งตั้งคณะทำงานปลูกป่าเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
มีรองผู้ว่าราชการเป็นหัวหน้า� ไล่ดูข้าราชการระดับสูงในจังหวัดมีหมด
ป่าไม้จังหวัด ป่าไม้เขต เหมือนคำสั่งทั่วๆไปในการดำเนินงาน�
และแล้วประธานก็เปิดประชุมโดยได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์กว้างๆว่าต้องการที่จะมีกิจกรรมในการปลูกต้นไม้เป็นเชิงสัญลักษณ์เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
ไว้เป็นอนุสรสถานที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยการปลูกต้นไม้สองข้างทางของถนนแจ้งสนิท
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 เส้นอุบลราชธานี – ยโสธร�
แต่เป็นการปลูกในเมืองบนฟุตบาทจากหอนาฬิกาถึงเส้นทางเลี่ยงเมือง
ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ในเขตเทศบาลโดยมีสถาบันราชภัฏอุบลราชธานีเป็นแม่งาน
แล้วท่านส่งเรื่องต่อให้กับแม่งาน�
ซึ่งคนมาประชุมเป็นกรรมการเลขานุการไม่ใช่ใครที่ไหน ท่าน
รองศาสตราจารย์อาคม�� ซึ่งคุ้นเคยกันดีเพราะท่านไปปรึกษาเรื่อง
การจัดการป่าชุมชน ท่านมักคุ้นกับคุณวิสูตร อยู่คง เป็นอย่างดี
พอท่านรับเรื่องท่านก็ให้พวกเราที่เข้าประชุมซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการแทบทั้งนั้นว่าควรปลูกไม้อะไรดี
มีคนเสนอให้ปลูกประดู่กิ่งอ่อน ก็ถูกตีตกไป
เพราะมีข้อเสียเนื่องจากกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ เปราะหักง่ายและเป็นไม้ผลัดใบ� ถึงเวลาร่วงหมดทั้งตัน
ไม่มีงบในการทำความสะอาดพื้น บางท่านเสนอให้ปลูกต้นปาล์ม ก็โดนตีตกไปเนื่องจากหาพันธุ์ยากหากซื้อต้องใช้งบสูง�
มีบางท่านบอกว่าถ้าปลูกจะทำให้ดูเป็นทะเลทรายไปก็มี
พอได้มีการอภิปรายกันสักครึ่งชั่วโมง
ท่านเลขาถึงได้เปิดเผยไอเดียว่าเราต้องการถนนเชิงสัญลักษณ์�
ฉะนั้นควรจะเป็นถนนที่มีความหมายให้กับพระองค์จึงควรปลูกต้นไม้ในเชิงปรัชญาว่า
“ถนนสีม่วง” เพราะสีม่วงเป็นสีประจำพระองค์ ทุกคนเห็นชอบด้วย
คราวนี้มาถึงว่าจะปลูกต้นอะไร ท่านเลขาถามท่านป่าไม้จังหวัด ซึ่งวันนี้ให้ตัวแทนมา
ได้ตอบให้เลือก 2 ชนิดคือ อินทนิลน้ำ(บก)และตะแบก�
ซึ่งไม้ทั้งสองชนิดต่างมีดอกเป็นสีม่วง ต้องตามคอนเซพท์� ที่ประชุมมองหน้ากันดูเหมือนว่าจะพร้อมใจกันจึงลงความเห็นชอบตามเจ้าหน้าที่ป่าไม้จังหวัดเสนอ
และท่านอาจารย์อาคมท่านไม่ตั้งใจหรือติดใจที่จะสอบถามที่ประชุม
พอดีท่านมองมาที่ข้าพเจ้าเอ่ยขึ้นว่า...
“อ้าว
แล้วท่านป่าไม้เขตมาด้วยไม่ว่าอย่างไรหรือไง คุณทศ”
ข้าพเจ้าจึงนึกขึ้นได้ว่าป่าไม้เขตในฐานะที่ปรึกษาป่าไม้จังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดด้านวิชาการ
น่าจะมีบทบาทกับเขาบ้างจึงพูดออกไปว่า...���
“ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน ผมมีข้อเสนอดังนี้...
แล้วข้าพเจ้าเริ่มแจกแจงข้อดีข้อเสียของไม้อินทนิลและไม้ตะแบก
สำหรับอินทนิลนั้นปลูกแล้วโตขึ้นทรงไม่สวยมีกิ่งก้านสาขา
หากเทศบาลมีเจ้าหน้าที่มาตัดแต่งกิ่งไม่ดี จะดูรกรุงรัง
สำหรับไม้ตะแบกเป็นพันธุ์ไม้ป่าที่มีพูพอนเมื่อโตและเปลือกก็ไม่เรียบไม่สวยดูเหมือนคนเป็นโรคกลาก,เกลื้อนเรื้อนกวาง
จึงเสนอ “ไม้เสลา” เนื่องจากมีคุณสมบัติที่จะปลูกตามฟุตบาทในตัวเมืองได้ดีมีคุณสมบัติตามวัตถุประสงค์
3 ประการ
ข้อที่
1 มีดอกสีม่วงอ่อนมีสีขาวแซมดูสะอาดตา
ข้อที่
2 ลำต้นเปลาตรงสล้างเสลาเหมือนชื่อ จะเป็นสีขาวบ้าง เทาบ้าง แล้วแต่ถิ่นกำเนิด
เรือนยอดเป็นทรงพุ่มเหมือนร่มที่กางแล้ว คนมายืนหลบแดดรอขึ้นรถเมล์ไม่ต้องอาศัยศาลา
ข้อที่
3 ที่ท้องใบมีขนสีขาวคอยดักฝุ่นละอองของฝุ่นและควันจากท่อไอเสีย และคายอ๊อกซิเจนออกมาชะล้างตามรูใบได้ด้วยตนเอง
ช่วยแก้มลพิษในอากาศ
พอข้าพเจ้าอธิบายจบ
ท่านอาจารย์อาคมรีบถามขึ้นทันทีว่า...“แล้วเราจะหากล้าไม้ได้ที่ไหน”
ข้าพเจ้าจึงตอบว่า...
“ผมคำนวณแล้ว ถนนที่เราจะปลูกระยะทางข้างละ 4 กิโลเมตร รวมทั้งสองด้าน 8
กิโลเมตรคิดเป็นเมตรได้ 8,000 เมตร ปลูกห่างระยะ 10 เมตร ใช้กล้าไม้ 800 ต้น
สถานีเพาะชำกล้าไม้ของผมมีกล้าไม่เสลาค้างปีอยู่ ประมาณ 1,200 ต้น� ผมยกให้หมดเลยถ้าตกลงตามนี้”
ที่ประชุมมองหน้ากันแล้วอาจารย์อาคมถามว่ามีใครขัดข้องอะไรหรือไม่
ที่ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์
ประธานจึงปิดประชุมและเชิญพวกเราทุกคนร่วมรับประทานอาหารเที่ยง
ข้าพเจ้ากับสมโภชน์ไม่ขัดข้ออยู่แล้ว และแล้วทุกคนก็แยกย้ายไปที่รถ ขณะขับรถกลับมา
สมโภชน์ชวนคุย...
“ผมไม่ค่อยเห็นพี่ทศพูดเรื่องวิชาการและดูเหมือนไม่ชอบพูดด้วย
วันนี้มาแปลก นี้แหละมั่งเขตเหงี่ยมท่านว่ามีกึ๋น ผมเพิ่งเข้าใจตอนนี้เอง
เขตอ่านขาดจริงๆ”
ข้าพเจ้าจึงตอบกลับไปว่า...
“ผมเป็นลูกน้องเขตเหงี่ยมตั้งแต่อยู่งานปราบปราม
ทีไม่ชอบพูดเรื่องวิชาการเพราะผมไม่มีทักษะในด้านนี้ อีกทั้งการศึกษาก็ ป.ตรี
อย่างที่คุณรู้พูดไปไม่ค่อยมีน้ำหนัก
ที่ผมแนะนำพวกคุณก็อาศัยประสบการณ์แทบทั้งนั้น”
พอโต้ตอบเสร็จรถมาถึงสำนักงานพอดี
ต่างคนต่างแยกย้ายกันไปปฏิบัติหน้าที่..
และแล้วการปลูกต้นไม้ก็มาถึง
มีการจัดงานที่สถาบันราชภัฏอุบลราชธานีขนานใหญ่ ข้าพเจ้าไม่ได้ไปร่วมพิธี
แต่ไปตอนนักศึกษาพากันถือกล้าไม้เสลาคนละต้นเดินเป็นกลุ่มละ 5
คนมาที่หลุมบนฟุตบาทที่ขุดไว้กว้าง 1x1 เมตร
ลึกประมาณ 30 - 50 เซนติเมตรเป็นการดำเนินการของทหารและเทศบาล
นำปุ๋ยคอกและแกลบเผามาลงไว้ให้ นักศึกษาเพียงแต่แกะถุงพลาสติกนำกล้าไม้ไปวางไว้ช่วยกันนำดินที่กองข้างหลุมกลบ
และต้นไม้ตรงกับบ้านใครก็ช่วยดูแล พอปลูกเสร็จมีรถบรรทุกน้ำของเทศบาลมาลงน้ำให้นักศึกษาช่วยกันรดจนชุ่ม
พิธีก็เสร็จ...
ข้าพเจ้าต้องนั่งรถผ่านเส้นนี้แทบทุกวันในตอนกลางวัน
เข้าเมืองเพื่อหาอาหารเที่ยงรับประทานสังเกตตลอดเวลา พบว่ากล้าไม้เจริญเติบโตเร็วมากแสดงว่าน้ำใต้ดินดี
และได้รับความร่วมมือจากบ้านช่องตึกแถวที่ตั้งอยู่ช่วยรดน้ำในบางโอกาส ประมาณ 3 –
4 ปี เสลาสองข้างทางสูงประมาณ 2.50 – 3 เมตร ออกดอกสะพรั่งพร้อมกัน ยามใดที่ขับรถผ่านมองไปข้างหน้าก็สีม่วง
มองกระจกมองหลังของรถ ก็สีม่วงสะอาดตา สดสวยยิ่งนัก� เราได้ถนนสีม่วงสมใจนึกเป็นผลที่ได้ร่วมงานกับภาคส่วนต่างๆจนเป็นรูปธรรม
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ต้องทำใจคือ เราสร้างสิ่งนี้ด้วยความยากลำบาก
แต่ที่ยิ่งยากคือการคงสภาพมันไว้ได้นี่ซิ น่าคิด...
ต่อมาจังหวัดอุบลราชธานีก็ได้มีการปลูกไม้สองข้างทางถนนจนได้ถนน
7 สาย สีแตกต่างกันแล้วแต่ดอกของต้นไม้ที่ปลูกจะกำหนดเป็นสีอะไร...?
สิ่งที่ได้ทำไปและคิดว่าประสบความสำเร็จมันมาจากความมุ่งมั่นตั้งใจจริงที่จะทำ
มันทำให้ข้าพเจ้าคิดนั่งย้อนไปเมื่อ� 3- 4
ปีที่ผ่านมาตอนที่คุณสมโภชน์ ได้เรียกว่าพลังพิเศษในตัวว่า “กึ๋น”
พอดีพจนานุกรมไทยเล่มเล็กวางอยู่ข้างแฟ้มหนังสือจึงหยิมมันขึ้นมาเปิดหาคำแปลที่แท้จริงว่า
“กึ๋น” หมายถึงอะไร เปิดเจอพอดี กึ๋นหมายถึง กระเพาะที่ 2 ของสัตว์มีปีก เป็นคำนาม
ที่จริงพวกเราทุกคนที่ชอบกินไก่ย่างจะรู้จักแทบทั้งนั้นบางคนชอบ สมัยเรียนชีววิทยา
111
ในมหาวิทยาลัยอาจารย์ผ่าท้องแมลงสาบแล้วอาเข็มหมุดปักกระเพาะแมลงสาบแล้วโยงมาเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า
“กิซซาด" (Gizzard)
บรรดาสัตว์ปีกจึงชอบกินหิน กรวด ทราย
เพื่อช่วยบดย่อยอาหารบางชนิดที่กระเพาะปกติย่อยไม่ได้ มันเหมาะสำหรับสัตว์จำพวกนั้น
แต่มนุษย์ไม่น่ามี เพราะมีกิเลศมาก ขนาดไม่มีบางพวกยังกิน กรวด หิน ดินทราย เหล็ก
ไม้ได้ แต่พวกมนุษย์ที่ไม่มีกึ๋นเหมือนแมลงสาบที่ชอบกินกระดาษใบสีม่วงนี่ซิน่ากลัว
ไปๆมาก็จบที่สีม่วงจนได้...
สำหรับคนป่าไม้ไม่มีกึ๋นพวกหนึ่งบางคนชอบกินส่วยทุกชนิด
แม้แต่ของไม่มีตัวตนเป็นนามธรรม เช่น ตำแหน่ง ชั้น ยศ
ก็ยังกินเข้าไปได้จบกัน...???
แรงบันดาลใจ...
จากการได้อ่านร้อยกรองของครูนิด
วน.43 เรื่อง “ม่วงไม้ป่า”ที่มีใจตรงกันที่ว่าสีม่วงไม่ใช่สีแห่งความเศร้า��� แต่กลับเป็นสีแห่งเกียรติยศและสีประจำพระองค์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยอีกด้วย...

Last updated: 2015-08-20 09:17:22