ในช่วงวิกฤตการณ์ต้องคิดถึงคนอื่นให้มาก ๆ
 
     
 
ยึดสวนยาง.....สร้างสวนป่า
หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องรีบเข้ายึดพื้นที่ โดยการจัดทำป้ายประกาศหรือจัดทำรั้วชั่วคราว และมีการมอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเป็นรายหน่วย รายบุคคลได้ยิ่งดี
 

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ข่าวว่าปีนี้ (2558) จะทวงคืนผืนป่าที่เป็นสวนยางพารา โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตั้งเป้าหมาย 200,000 ไร่ กรมป่าไม้ 400,000 ไร่ โดยเปิดยุทธการวันที่ 1 มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นวันต้นไม้แห่งชาติ กิจกรรมที่ว่านี้ได้ฟังได้อ่านบทความของท่านพอจะนำประเด็นสงสัยมากระทู้ดังต่อไปนี้...???

1.เมื่อยึดคืนผืนป่าได้แล้วจะปล่อยให้ต้นยางเติบโตกลายเป็นป่าธรรมชาติไปเอง หรือโค่นต้นยางออกแล้วปลูกทดแทน หากเป็นกรณีหลังการโค่นต้นยางทิ้งแล้วนำออกจากพื้นที่เป็นเรื่องใหญ่และยุ่งยากใช้งบประมาณมาก และจะจัดการกับต้นยางที่ตัดลงอย่างไร หากมีการปลูกป่าขึ้นใหม่ที่ผ่านมาการปลูกป่าของกรมป่าไม้สำเร็จแค่ไหนมีการรั่วไหลหรือไม่ ?

2.สวนยางพาราเป็นสวนป่าชนิดหนึ่ง เป็นป่าเศรษฐกิจมีส่วนสร้างสีเขียวให้โลกเป็นสิ่งแวดล้อมของชุมชนเหมือนกับป่าไม้ทั่วไปโดยเฉพาะในภาคอีสานเป็นสีเขียวได้ด้วยยางพารา หากโค่นทิ้งพื้นที่สีเขียวก็หายไปอีกกี่ปีจึงจะปลูกขึ้นมาทดแทนได้ทำไมต้องโค่นทิ้งไม่เก็บสวนยางเอาไว้ หากเกรงว่าเจ้าของจะบุกรุกเข้าไปกรีดยางพารา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรหามาตรการป้องกันดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ฝ่าฝืน ทุกอย่างทำได้ ถ้าทำจริง

จากข้อสงสัยของท่านที่ติดตามข่าวดังกล่าวมาแล้ว พอมาดูข่าวทางโทรทัศน์เห็นว่าสวนป่าที่ยึดได้จะทำการตัดฟันไม้ยางพาราออก 60 เปอร์เซ็นต์และไม่มีรายละเอียดอื่นใด หากเป็นการตัดฟันอิงหลักวิชาการคงตัดต้นเว้นต้นแถวเว้นแถวเพื่อเปิดให้แสงส่องพื้นได้ พืชชนิดอื่นจะได้เติบโตได้บ้าง บางกระแสข่าวว่าไม้ที่อายุต่ำกว่า 7 ปีตัดทิ้งปล่อยทำลาย ไม้ที่อายุเกิน 7 ปีมอบให้องค์การอุตสาหกรรมป่านำไปใช้ประโยชน์.

แต่ยังมีข้อที่น่าสังเกตอยู่หลายประเด็นดังนี้

1.ทำไมการเข้ายึดคืนสวนป่าจึงง่ายกว่าที่คิด ถามใครคงตอบยาก แต่ลองวิเคราะห์หาเหตุผลดู คงเกิดจากผืนป่าไม่มีเอกสารสิทธิ์ และเป็นสวนป่าที่คดีถึงที่สุดแล้ว ทุกคนจึงกล้าเข้าไปตัดฟันนำสื่อไปทำข่าว และรู้สึกว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานเนื่องจากอยู่ในความคุ้มครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มอบนโยบายให้

2.เมื่อได้พื้นที่แล้วมีนโยบายปลูกสร้างสวนป่าขึ้นทดแทนอย่างไร ?

เราได้ตั้งข้อสังเกตมา 2 ข้อแล้ว สำหรับข้อที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องรีบเข้ายึดพื้นที่ โดยการจัดทำป้ายประกาศหรือจัดทำรั้วชั่วคราว และมีการมอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเป็นรายหน่วย รายบุคคลได้ยิ่งดี สำหรับการปลูกป่านั้นต้องรีบนำไม้ยางพาราที่ตัดฟันออกจากป่ากล้าไม้ต้องพร้อม จะทำการไถพื้นที่แล้วค่อยขุดหลุมปลูกก็ได้ แต่ต้องรีบดำเนินการในยุคที่เรายังมีหน่วยงานให้การสนับสนุนอยู่  หากทำได้ดังนี้การทวงคืนผืนป่าครั้งนี้คงไม่เสียของ อย่ามัวแต่ตรวจยึดออกสื่อโทรทัศน์ไปเรื่อยจะทำให้ผู้ไม่หวังดีว่าร้ายนินทาว่าเอาแต่สร้างภาพ การปลูกอีกวิธีคือ การปลูกโดยไม่ต้องปลูก เป็นการประหยัดงบประมาณ เพียงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนป้องกันพื้นที่ไม่ให้คนเข้าบุกรุกและปกป้องไฟป่า เท่านี้ธรรมชาติก็สืบพันธุ์ด้วยตัวมันเอง ควรรีบฉกฉวยโอกาสกระทำในช่วงนี้ เพราะรัฐบาลได้วางนโยบายไว้ชัดเจนหากไม่รีบดำเนินการแล้วเราจะพบว่า.?

“ทวงคืนผืนป่านั้นว่ายากแล้ว แต่การรักษาผืนป่าที่ได้มานั้นยากกว่า”

สำหรับผู้เขียนในเรื่องนี้ยังหาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้เพราะความสงสัยข้องใจมันมีลึกและซับซ้อนกว่าที่ได้รับฟังมา...???

จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติได้รับคำตอบว่ายังไม่มีการสั่งแนวทางปฏิบัติในการยึดสวนยาง สร้างสวนป่าที่ชัดเจนว่าจะให้ปฏิบัติอย่างไรที่เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ไม่มีใครตอบคำถามนี้ ผู้มีอำนาจโปรดช่วยที...???

 



Last updated: 2015-06-22 06:15:21


@ ยึดสวนยาง.....สร้างสวนป่า
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ ยึดสวนยาง.....สร้างสวนป่า
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
1,472

Your IP-Address: 18.97.14.81/ Users: 
1,471