��������������� ...ไม้ที่ถูกถ่ายลำไว้ในคลังสินค้าชั่วคราวจะมีการแต่งที่หัวไม้� โดยการทาสีแดง หรือส้ม� และบางเหลี่ยมเป็นสีน้ำเงิน� ตรวจสอบแล้วจะไม่มีรูปรอยตราไม่ว่าของผู้ใดตีประทับไว้แต่อย่างใด� เมื่อผู้ประกอบการพร้อมในเรื่องยานพาหนะในการขนส่งสินค้าและทราบท่าเรือที่จะขนส่งไปต่างประเทศ� ก็จะแจ้งศุลกากรเพื่อจัดการพิธีการตรวจปล่อยซึ่งมีหลักฐานดังนี้
��������������� ๑.� เอกสารผ่านแดนและซีล� (SEAL)� กำกับรถประกอบด้วย
������������������������������� ๑.๑� ใบขนส่งสินค้าผ่านแดน� (IN-TRANSIT� ENTRY)� ที่ประทับด้วยตัวอักษรสีแดง� ใบสั่งปล่อยแสดงถึงรายละเอียดของสินค้าการตรวจปล่อยของเจ้าพนักงานศุลกากร� หมายเลขทะเบียนรถยนต์บรรทุก� หมายเลขคอนเทนเนอร์และหมายเลขแถบเหล็ก� อาร์� ที� ซี� (RTC)� หรือหมายเลขดวงตราตะกั่ว� หากมีการบรรทุกรถยนต์หลายคัน� ในคันที่เหลือจะต้องมีสำเนาใบขนส่งสินค้าผ่านแดนกำกับทุกคัน
������������������������������� ๑.๒� ใบกำกับคอนเทนเนอร์แบบที่� กศก ๔๙� แสดงหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์� ท่าต้นทางและปลายทาง� และต้องเป็นเอกสารตัวจริงกำกับรถยนต์ทุกคัน
������������������������������� ๑.๓� ใบกำกับรถยนต์แบบที่� ๔๕๑� (เอกสารเป็นสีชมภู)� ติดไว้กระจกหน้ารถยนต์� ระบุว่าบรรทุกสินค้าผ่านแดน� ตามใบขนส่งสินค้าผ่านแดนเลขที่เท่าใด� จากด่านศุลกากรต้นทางชื่อด่านใด
������������������������������� ๑.๔� ซีล� (SEAL)� ศุลกากรจะเป็นแถบสีแดงมีตัวอักษร� อาร์ ที ซี (RTC)� และตัวเลขแปดหลักร้อยไว้ที่ประตูปิดทับของตู้คอนเทนเนอร์จำนวน� ๑� คัน� แต่หากบรรทุกโดยระยนต์บรรทุก� สินค้าต้องคลุมผ้าใบพร้อมร้อยลวดประทับดวงตราตะกั่วหมายเลข� กศก ๑๑๘๖� ไว้ที่มุมผ้าใบจำนวน ๖� ดวง� (หมายเลขอาจเปลี่ยนแปลงหากคีมหนีบชำรุดต้องเปลี่ยนอันใหม่)� ซึ่งหมายเลข อาร์ ที ซี หรือหมายเลขดวงตราตะกั่วจะต้องตรงกับหมายเลขที่ระบุไว้ในใบขนส่งสินค้าตามข้อ� ๑.๑�
��������������� ๒.� เส้นทางอนุมัติปรากฏตามแผนที่ที่ได้แนบกับเอกสาร
��������������� ...ถ้าได้ดูตามใบกำกับคอนเทนเนอร์ที่� ๔๙� ตะระบุชื่อเรือ� เที่ยวเรือ� วันเวลาที่เรือออก� ฉะนั้นถ้าจะสรุปว่าเมื่อได้หลักฐานครบถ้วนจากต้นทางแล้ว� รถน่าจะมุ่งไปลงเรือได้ตามวันเวลาที่ปรากฏในแบบ� ๔๙� จะไม่มีการถ่ายลำอีก� จะมีเพียงการขนถ่ายสินค้าที่ต้นทางด่านแรกเท่านั้น
��������������� ปัญหามันเกิดขึ้นตามมาอีกก็คือ� มีการจัดทำใบอนุญาตผ่านปลอมจากประเทศสปป.ลาว� ซึ่งมีรายละเอียดจำนวนไม้ไม่ตรงกับใบอนุญาต� และทางจังหวัดได้ทำหนังสือสอบถามไปยังแขวงที่ออกใบอนุญาตผ่าน� (EXPORT� PASS� PERMIT)� ก็ยังได้รับเอกสารตอบกลับว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้อง� และยังยืนยันอีกว่า� ไม้ที่ส่งผ่านแดนในลักษณะนี้ไม่ต้องตีตราประทับที่ส้นไม้� เพราะที่ลาวมีคณะกรรมการตรวจไม้ก่อนขึ้นรถอยู่แล้ว� ไม้พะยูงที่เราตั้งสมมุติฐานว่า� ทำไมจึงมุ่งมาที่ด่านนี้ก็เพื่อมาสวมใบอนุญาตผ่านปลอม� นั่นเอง� สินค้าไม้พะยูงจำนวนมากจึงหลุดลอดไปได้� เมื่อเอกสารใบอนุญาตปลอมถูกจับได้โดยที่เจ้าหน้าที่ของไทยเราเข้าไปยังประเทศลาวทางด่านพรมแดนมุกดาหารสอบถามเจ้าหน้าที่จึงรู้ว่า� หลักฐานที่พ่อค้าเอามาอ้างเป็นเอกสารปลอม� พ่อค้าจึงได้เปลี่ยนกลยุทธใหม่
��������������� ปัญหาการส่งออกไม้โดยสำแดงเท็จว่า� เป็นสินค้าอย่างอื่น� ปรกติการส่งสินค้าไปนอกราชอาณาจักร� จะต้องปฏิบัติภายใต้การควบคุมของพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้า� พ.ศ.� ๒๕๒๒� ซึ่งในปัจจุบันการส่งสินค้าไม้ไปนอกราชอาณาจักร� ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงพาณิชย์� เรื่อง� การส่งข้าว� ช้าง� และไม้ออกไปนอกราชอาณาจักร� พ.ศ.� ๒๕๔๙� ซึ่งอนุญาตให้ส่งไม้และไม้แปรรูปออกไปนอกราชอาณาจักร� เฉพาะไม้ยางพารา� ไม้สน� ไม้สนปฏิพัทธ์� และไม้ที่นำออกจากสวนป่าที่ปลูกขึ้นทั้งของรัฐและเอกชน� อนุญาตให้เฉพาะ� ออป.เป็นผู้ส่งออก� แต่ปัจจุบันมีผู้ประกอบการได้สำแดงเท็จ� อ้างสินค้าไม้พะยูง� ไม้ประดู่ในตู้คอนเทนเนอร์� เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นสินค้าชนิดอื่น� เช่น� เฟอร์นิเจอร์� ไม้อัด� แผ่นปาร์ติเกิลบอร์ด� เหล็กเส้น� ฯลฯ� และไม้ในตู้คอนเทนเนอร์ที่พบไม่สามารถพิสูจน์แหล่งที่มาได้� เนื่องจากไม่มีรูปรอยตราประทับบนไม้� และเมื่อวันที่� ๒๔� พฤศจิกายน� ๒๕๔๙� กรมศุลกากรแถลงการณ์จับกุมไม้ท่อนและไม้เหลี่ยม� ลักลอบส่งออกจำนวน� ๒๕� ตู้คอนเทนเนอร์� โดยจับกุมที่ด่านศุลกากรฉะเชิงเทราจำนวน� ๒๓� ตู้คอนเทนเนอร์� และที่ท่าเรือกรุงเทพฯ� จำนวน� ๒� ตู้� โดยสำแดงสินค้าเป็นปาร์ติเกิลบอร์ด� และเฟอร์นิเจอร์ทำด้วยพลาสติก� ยึดของกลางไว้ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
��������������� ...ดังได้กล่าวมาทั้งสิ้นเป็นกลยุทธ์การลักลอบตัดไม้ในไทยเพื่อส่งไปขายต่างประเทศ� ส่วนใหญ่ไม้จะมาจากพื้นที่อิสานตอนล่าง� ตามสถิติการจับกุมดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้พะยูงในเขตความรับผิดชอบ� สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่� ๙� (อุบลราชธานี)� รวม� ๖� จังหวัด� ระหว่างปี� พ.ศ.� ๒๕๔๘ – ๒๕๕๑� จำนวน� ๙๖๔� คดี� ผู้ต้องหา� ๓๘๒� คน� ยึดไม้ของกลางได้� ๒๔,๗๗๘� ท่อน/เหลี่ยม� ปริมาตร� ๑,๙๓๒.๑๒๓� ลูกบาศก์เมตร� หากคิดราคาในเมืองไทยขณะนั้นประมาณไม่ตำกว่า� ๑๐๐� ล้านบาท� ราคาในต่างประเทศน่าจะเกือบ� ๑,๐๐๐� ล้านบาท� ไม้ในสมัยนั้นมีแต่ได้ขนาดตามออร์เดอร์� หน้า� ๖� นิ้ว� ยาว� ๒� เมตร� ๑๐� เซนติเมตร� เมื่อเราดูสถิติย้อนหลังที่จับกุม� ๔-๕� ปี� ได้ไม้เกือบ� ๒๕,๐๐๐� ท่อน/เหลี่ยม� แล้วที่จับไม่ได้หลุดลอดสายตาไปไม่รู้กี่เท่า� แล้วพะยูงฤาจะไม่สูญสิ้นจากแผ่นดินไทย� หากเรายังคงใช้ยุทธวิธีในการตามล่าไม้ที่ล้มแล้วมากกว่าการป้องกัน� แสดงว่าเราช้ากว่าพ่อค้าไปหลายก้าว� แต่ในปัจจุบันกลยุทธ์ในการส่งไม้ขายต่างประเทศ� กลับหน้ามือเป็นหลังมือ� เป็นการส่งจากไทยผ่าน� สปป.ลาว� โดยหาไม้ไม่ว่าจะได้สเปกหรือไม่ขอให้นำไปกองไว้ริมฝั่งโขงตลอดแนวจังหวัดอุบลราชธานี ถึง นครพนม� จะมีเรือหางยาวมานำข้ามไป� เหตุการณ์หรือปรากฏการเช่นนี้ทำให้เราควรตระหนักใจได้ว่า� ไม้พะยูงจะสูญสิ้นไปจากแผ่นดินไทยหรือไม่� แม้เราจะเอาขึ้นบัญชี� ๒� ของอนุสัญญาไซเตส� แล้วก็ตาม� ลองมาวิเคราะห์กันดูว่า� จะมีวิธีการหรือยุทธศาสตร์ใดบ้าง� ที่พอจะหยุดยั้งหรือชะลอการลักลอบค้าไม้ข้ามชาติได้� ก่อนที่เราจะหาวิธีการ� ลองมาดูพฤติกรรมในการลักลอบตัดไม้ส่งข้ามชาติของอดีตที่ผ่านมาเสียก่อน� ซึ่งเราก็ได้กล่าวมาบ้างแล้วในตอน� (๑)� และตอน� (๒)� เพราะประวัติศาสตร์มักจะเวียนมาทับรอยเดิมเสมอ......

Last updated: 2014-02-15 13:02:09