กรอก email ที่ต้องการส่งแล้วกด Send
อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยไร้ประโยชน์ แล้วก็อย่าบอกว่าเวลาไม่เคยพอ
 
     
 
การแตกกระจายของฝืนป่า(1)
การสูญเสียถิ่นที่อาศัย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ธรรมชาติที่อดีตเคยเป็นพื้นที่ใหญ่ต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกัน กลับกลายเป็นผืนป่าที่มีการแตกกระจาย เกิดเป็นหย่อมป่า
 

ช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมานั้นประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ระบบนิเวศบนบกของโลกได้มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้และเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถาวร 

สาเหตุดังกล่าวนี้จัดได้ว่าเป็นภัยคุกคามหลักต่อความดำรงคงอยู่ของความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าไม้จนกลายเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอื่น ๆ อาทิเช่นพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกและปศุสัตว์ พื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรม แหล่งน้ำถาวรขนาดใหญ่ ตลอดจนพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยของมนุษย์ ถือได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญต่อการสูญเสียถิ่นที่อาศัยของพรรณพืชและสัตว์ป่าที่สามารถพบเห็นได้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน 

การสูญเสียถิ่นที่อาศัย(habitat loss) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ธรรมชาติที่อดีตเคยเป็นพื้นที่ใหญ่ต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกัน กลับกลายเป็นผืนป่าที่มีการแตกกระจาย (fragmentation) เกิดเป็นหย่อมป่า (patches) ที่มีขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้างกระจายตัวอยู่ท่ามกลางสภาพพื้นที่โดยรอบที่มีการพัฒนาจากกิจกรรมของมนุษย์ (matrix) 

ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อรูปแบบของภูมิภาพ (landscape pattern) ของระบบนิเวศโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดลงของพื้นที่ป่ าไม้ธรรมชาติและการเพิ่มขึ้นของระยะห่างระหว่างหย่อมป่ า โดยที่กระบวนการการเกิดการแตกกระจายของผืนป่าว่าเป็ นพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบถิ่นที่อาศัยตามระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป

การแตกกระจายของผืนป่า (Forest Fragmentation) เป็นคำที่ใช้ในการอธิบายถึงภาวะของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ที่ถูกปกคลุมด้วยพืชพรรณจากการทำลายที่ยังไม่สมบูรณ์ก่อให้เกิดการเหลือหย่อมพื้นที่พืชพรรณขนาดเล็ก ๆ ที่ถูกแบ่งแยกออกจากกัน

ฉะนั้นการแตกกระจายของผืนป่าจึงมีความหมายถึง การเปลี่ยนแปลงของถิ่นที่อาศัยที่อดีตเคยต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกัน กลายเป็นหย่อมที่อาศัยที่มีความฝันแปรทั้งทางด้านขนาดและรูปลักษณ์ทางภูมิประเทศ (landscape configuration) สำหรับศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการแตกกระจายของถิ่นที่อาศัยต่อความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มเติมได้จากงานของ Fahrig (2003)

เมื่อพิจารณาการลดลงของพื้นที่โดยรวมของถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่า โดยทั่วไปแล้วพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินของมนุษย์อย่างเข้มข้นมักเป็นพื้นที่ที่เคยมีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์ป่าในอดีตด้วยเช่นเดียวกันกับพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลุ่ม หรือหุบเขาขนาดใหญ่ ที่มีความลาดชันไม่มาก และมักไม่ไกลจากแหล่งน้ำ มักจะถูกบุกรุกและยึดครองโดยชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกันพื้นที่ป่าไม้

การลดลงของขนาดหย่อมป่าที่เหมาะสมต่อการเป็นถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่า และการเพิ่มพื้นที่บริเวณขอบป่า (edge) ที่อยู่ต่อเนื่องกับพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอื่นๆ โดยรอบ พบว่าในระยะยาวแล้วพื้นที่หย่อมป่าที่เหลือมีแนวโน้มจะลดขนาดลงอีก และอาจหายไปในที่สุด

การเปลี่ยนแปลงทางด้านองค์ประกอบทางด้านนิเวศของถิ่นที่อาศัย เกิดจากความกดดันจากการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ การบุกรุกดังกล่าวมิได้เกิดโดยบังเอิญ แต่เป็นความตั้งใจของมนุษย์ที่ต้องการเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินเช่นการเลือกพื้นที่การเกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง ทำให้เกิดพื้นที่เกษตรกรรมใกล้เคียงกับพื้นที่หย่อมป่า อีกทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของหย่อมป่าเนื่องจากแรงกดดันจากการใช้ประโยชน์ของมนุษย์โดยรอบพื้นที่

พบว่าหย่อมป่าที่มีรูปร่างไม่สม่ำเสมอย่อมมีเส้นรอบรูปยาวกว่าหย่อมป่าที่มีรูปร่างกลมหรือสี่เหลี่ยม และพื้นที่หย่อมป่าดังกล่าวมักมีความเสี่ยงต่อการคุกคามสูงขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งระหว่าหย่อมป่ าและพื้นที่ขอบโดยรอบ (edge contrast) มีมากขึ้นตามช่วงเวลาที่ผ่านไป

จากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแตกกระจายของผืนป่า หย่อมป่าที่กระจัดกระจายตัวอยู่ทั่วไปมักมีความใกล้เคียงกันของหย่อมป่า (proximity) ในระดับที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และยังผันแปรไปตามแรงกดดันจากความต้องการการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบของชุมชน เมื่อหย่อมป่าที่เหมาะสมต่อถิ่นที่อาศัยของพืชพรรณหรือสัตว์ป่าอยู่ห่างกันมากขึ้น (และ/หรือ) หย่อมป่าเหล่านั้นมีขนาดเล็กลง ประชากรของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่มักมีอัตราเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เร็วยิ่งขึ้นซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีชีวภูมิภาคของเกาะ (island biogeography theory) ที่เสนอโดย McArthur&Willis (1967) และทฤษฎีการเกิดประชากรย่อย (metapopulation) ที่เสนอโดย Levins (1969)

ภายหลังจากการเกิดหย่อมป่า สิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ป่าไม่สามารถเคลื่อนที่ไปมาอย่างอิสระระหว่างถิ่นที่อาศัยได้เช่นในอดีต ประชากรสิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มถูกกักให้อาศัยอยู่ในเฉพาะหย่อมป่านั้น ๆ ก่อให้เกิดปัญหาการผสมเลือดชิด (inbreeding) หรือการผสมพันธุ์ภายในประชากรที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกัน เป็นเหตุให้พันธุกรรมของประชากรย่อยนั้น ๆ ขาดความหลากหลายและอ่อนแอและมีจำนวนลดลงในที่สุด (สามารถศึกษาผลกระทบของการเกิดการแตกกระจายของผืนป่าได้เพิ่มเติมจาก Saunders et al. (1991))

จากทฤษฎีทั้งสองดังกล่าวนี้เองที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้นักวิจัยทางด้านการอนุรักษ์ความหลากหลากทางชีวภาพ(conservation biology) หันมาให้ความสนใจในการออกแบบและจัดทำทางเชื่อมต่อระหว่างหย่อมป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยส่วนใหญ่ให้น้ำหนักไปกับการออกแบบทางเชื่อมต่อสำหรับสัตว์ป่าที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากกว่าสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ๆ  ทั้งนี้เนื่องจากสัตว์ป่ ามีการเคลื่อนที่ไม่อยู่นิ่งกับที่ ทำให้ผลกระทบของการแตกกระจายของหย่อมป่าที่มีผลต่อสัตว์ป่าสามารถถูกสังเกตได้ชัดเจนมากกว่า 

Harris & Scheck (1991) ได้สรุปถึงเหตุผลและความจำเป็นของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะสัตว์ป่าในกลุ่มสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังที่ต้องมีการเคลื่อนที่ไปมาระหว่างถิ่นที่อาศัยต่าง ๆ ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้

เหตุผลของการเคลื่อนที่

ช่วงเวลา

ระยะทาง

1 เสาะแสวงหาแหล่งอาหารที่กระจายตัวอยู่ในหย่อมป่าต่าง ๆ

รอบวัน

กม. to 10 กม.

2 ใช้แหล่งทรัพยากรที่มีอยู่บางช่วงเวลา

รอบวัน-รอบเดือน

ม.ถึง กม.

3 ใช้สภาพแวดล้อมเฉพาะที่ในบางช่วงฤดูกาล

การย้ายถิ่นตามฤดูกาล

กม. – 100 กม.

4 เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในช่วงชีวิตที่ต่างกัน

ตามฤดูกาล

100 กม.

5 กลับมาเพื่อสืบพันธุ์ให้ลูก

รอบปี

1000 กม.

6 อพยพเพื่อตั้งถิ่นฐานในสภาพแวดล้อมใหม่

-

ท้องถิ่น - 100 กม.

7 ขยายพื้นที่การแพร่กระจาย

-

100 กม.

8 หาที่อยู่ใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ทศวรรษ

กม. - 100 กม.

9 การอพยพระหว่างเกาะหรือทวีป

ทศวรรษ

กม. - 100 กม.

Harris, L. D. &J. Scheck. 1991. From implication to application: the dispersal corridor principle applied to the conservation of biological diversity, 189-220 In Saunders, D. A. &R. J. Hobbs. (Eds.), Nature Conservation 2: The Role of Corridors. Surrey Beaty and Sones, Chipping Norton, Australia.


จากความต้องการของสิ่งมีชีวิตในการเคลื่อนที่หาแหล่งถิ่นที่อาศัยในระบบนิเวศบนพื้นดินนั้น พบว่าสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ แต่มีความสามารถในการเคลื่อนที่สูงเพื่อเสาะแสวงหาอาหาร ได้แสดงให้เห็นว่าประสบปัญหาในการเคลื่อนที่อย่างเห็นได้ชัด

ในสภาวการณ์ปัจจุบัน สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มักถูกจำกัดให้หากินอยู่ในพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก โดยทั่วไปพื้นที่หย่อมป่าขนาดเล็กดังกล่าวไม่สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิต (basic needs) ของประชากรของสัตว์ป่าเหล่านั้นได้ ฉะนั้นจึงถือได้ว่าสภาพการแตกกระจายของผืนป่าที่พบในปัจจุบันเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเคลื่อนที่ของสัตว์ป่าในธรรมชาติ และจัดเป็นภัยคุกคามที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั้งสามระดับของทั้งประเทศไทยเองและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

(แหล่งที่มา: http://jwt.thaiwildlife.org นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์ และ ประทีป ด้วงแค, นิเวศวิทยาของการออกแบบแนวเชื่อมต่อสำหรับสัตว์ป่า: แนวความคิดในเบื้องต้นสำหรับประเทศไทย)


Last updated: 2013-01-05 08:49:44


@ การแตกกระจายของฝืนป่า(1)
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ การแตกกระจายของฝืนป่า(1)
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
2,591

Your IP-Address: 54.211.148.68/ Users: 
2,590