จงยินดีที่เป็นผู้ให้ มากกว่าจะเป็นผู้รับ
 
     
 
ป่าชุมชน: เทคโนโลยีอำนาจควบคุมชุมชนในเขตป่าชิ้นใหม่? ตอนที่ 2
ในปัจจุบันที่สังคมไทยยังไม่ยอมรับสิทธิชุมชนในการจัดการป่า ป่าชุมชนถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการ “อนุรักษ์” มากกว่าการเสริมศักยภาพของชาวบ้านในการจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
 

นับจากอดีตเป็นต้นมา คำว่า ป่าชุมชน มักถูกอ้างถึงในฐานะเครื่องมือที่ทรงพลังในการเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการคุ้มครองระบบนิเวศและแก้ปัญหาความยากจน ข้อสรุปดังกล่าวมีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ถูกต้องเสียทั้งหมด คำถามหลักก็คือ ป่าชุมชนสามารถเอื้อประโยชน์ต่อชาวบ้านจริงหรือ ในเมื่อสังคมไทยยังไม่มีกฎหมายมารองรับสิทธิของชาวบ้านในการจัดการป่า?

บทความชิ้นนี้ต้องการนำเสนอให้เห็นว่าในบริบททางสังคมและการเมืองในปัจจุบันที่สังคมไทยยังไม่ยอมรับสิทธิชุมชนในการจัดการป่า ป่าชุมชนถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการ
อนุรักษ์ มากกว่าการเสริมศักยภาพของชาวบ้านในการจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ชาวบ้านที่จัดการป่าชุมชนมักได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์เพียงการเก็บหา
ของป่า ซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจไม่สูงมากนัก ในขณะที่ทรัพยากรในป่าที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เช่น เนื้อไม้และไม้สำหรับการก่อสร้าง มักจะถูกกีดกันและหวงห้ามไว้เพื่อเป็นสมบัติของชาติ และหากจะมีการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรเหล่านี้ ก็จะอนุญาตเพียงเพื่อการยังชีพและใช้ประโยชน์ภายในครัวเรือนเท่านั้น

นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ในระดับหมู่บ้านยังถูก
จับตา และตรวจสอบอย่างเข้มข้นจากเพื่อนบ้านด้วยกันเอง ป่าชุมชนได้กลายเป็นเงื่อนไขใหม่ในการควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรของชาวบ้านที่เข้มข้นขึ้น โดยมี คณะกรรมการป่าชุมชนทำหน้าที่บังคับใช้ กฎระเบียบป่าชุมชน เพื่อกำกับและควบคุมการใช้ประโยชน์ของ สมาชิกป่าชุมชนให้เป็นไปตามกรอบคิดที่ว่าด้วยการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ยั่งยืน

ในบทความนี้ ผู้เขียนพยายามวิเคราะห์ให้เห็นว่าป่าชุมชนนั้นแท้จริงแล้วเป็นเพียง
เทคโนโลยีอำนาจชิ้นใหม่ ซึ่งเป็นเทคนิคการบริหารอำนาจของรัฐเพื่อปรับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับชุมชนในเขตป่าป่าชุมชน: เทคโนโลยีอำนาจควบคุมชุมชนในเขตป่าชิ้นใหม่? 159เพื่อให้ชุมชนในเขตป่าเหล่านั้นเกิดสำนึกใหม่ว่าการควบคุมและจัดการทรัพยากรเป็นหน้าที่ของชุมชนและชาวบ้าน

แต่ในขณะเดียวกันรัฐก็ไม่เคยมอบอำนาจการตัดสินใจสำหรับการจัดการและจัดสรรทรัพยากรให้กับชุมชนเหล่านั้น อำนาจในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่แท้จริงยังคงรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลางโดยมีกรมป่าไม้เป็นผู้บริหารจัดการอำนาจ การมอบพื้นที่ป่าให้ชาวบ้านดูแลในรูปแบบ
ป่าชุมชน แต่ไม่ให้อำนาจในการบริหารจัดการ จึงเป็นความพยายามของรัฐในการกลบเกลื่อนความล้มเหลวของนโยบายรวมศูนย์อำนาจในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ทั้งนี้เพื่อรักษาและธำรงไว้ซึ่งสถานะทางอำนาจเดิมของรัฐเหนือพื้นที่ป่าและการควบคุมชาวบ้านในเขตป่า

คำว่า เทคโนโลยีอำนาจชิ้นใหม่ ที่นำมาใช้เป็นกรอบการวิเคราะห์ในบทความนี้ ผู้เขียนได้ยืมมาจากแนวคิด Governmentality ซึ่งเป็นแนวคิดที่พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ในช่วงระหว่างปี ค.. 1977-1984 หากกล่าวแบบย่อๆ ฟูโกต์มองว่าการปกครองในสังคมสมัยใหม่มักจะไม่ปฏิบัติการผ่านกฎหมายหรือกฎจารีตอันเป็นการควบคุมทางตรงซึ่งการปกครองดังกล่าวมักจะได้รับการต่อต้านจากผู้ที่ถูกควบคุม แต่การควบคุมของสังคมสมัยใหม่มักปฏิบัติการผ่านการกระทำร่วมกันของ อำนาจและความรู้ ที่ยังผลให้เกิด ความรู้สึกนึกคิด (Subjectivity)(อานันท์ 2552) และใช้ความรู้สึกนึกคิดนั้นในการปกครองตนเอง

ดังนั้น
Governmentalityจึงมีความแตกต่างจากการปกครองด้วยอำนาจรัฐโดยตรง แต่เป็นการปกครองที่มีพลังอำนาจบังคับอยู่ภายในตัวคน หรือการปกครองที่ทำงานได้ด้วยตัวเอง ทั้งนี้ แนวคิด Governmentality ของฟูโกต์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากนักวิชาการร่วมสมัยหลากหลายสาขา โดยในสาขาว่าด้วยการเมืองของการพัฒนาและสิ่งแวดล้อมก็มีการประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น งานศึกษาของ Tania Li(2007) ในหนังสือเรื่อง
The Will to Improve ซึ่ง Li ได้ใช้กรอบคิด conduct of conduct ในการวิเคราะห์โครงการและแผนงานของหน่วยงานที่มีเจตนารมณ์แน่วแน่เพื่อพัฒนา

คนอื่น ภายใต้กรอบคิดการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา ข้อโต้แย้งสำคัญของ Li ก็คือ แท้จริงแล้วโครงการและแผนงานพัฒนาเหล่านั้นมีการวางแผนและตระเตรียมไว้แบบเบ็ดเสร็จเรียบร้อย เมื่อประชาชนในพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเข้าร่วมกระบวนการ จึงเป็นความสำเร็จของแผนงานดังกล่าวในการควบคุมชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนเหล่านั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเจตนารมณ์ของแผนงานพัฒนา

เนื้อหาในบทความชิ้นนี้สังเคราะห์จากกรณีศึกษาป่าชุมชนห้วยแก้ว ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็น สนาม ในการศึกษาวิจัยในการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของผู้เขียนที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โดยผู้เขียนได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2552 ถึงเดือนพฤษภาคม 2553

ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ผู้เขียนได้มีโอกาสสังเกตรูปแบบการพึ่งพิงทรัพยากรของชาวบ้าน ได้สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องหลายกลุ่มทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ

ประกอบด้วย อดีตแกนนำชาวบ้านในการคัดค้านการสัมปทานป่าห้วยแก้ว คณะกรรมการป่าชุมชนทั้งในอดีตและปัจจุบัน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว และชาวบ้านทั่วไปซึ่งผู้เขียนแบ่งออกเป็น
2 กลุ่มหลัก คือ 1) กลุ่มชาวบ้านที่อาศัยอยู่ติดกับพื้นที่ป่าชุมชนและพึ่งพิงทรัพยากรจากป่าชุมชนห้วยแก้วโดยตรง ทั้งในรูปของที่ดินในป่า รวมถึงการเก็บหาของป่า เช่น หน่อไม้ ไม้ฟืน เป็นต้นและ 2) กลุ่มชาวบ้านที่พึ่งพิงทรัพยากรจากป่าทางอ้อม เช่น การพึ่งพิงน้ำเพื่อการเกษตร

การตั้งชื่อบทความเป็นลักษณะของคำถามเป็นความตั้งใจของผู้เขียน ทั้งนี้เพราะผู้เขียนยอมรับถึงความแตกต่างหลากหลายของรูปแบบป่าชุมชนในแต่ละพื้นที่และป่าชุมชนในแต่ละภูมิภาค เป็นไปได้ว่าในบางพื้นที่ ป่าชุมชนอาจเป็นเครื่องมือที่เสริมศักยภาพของชาวบ้านที่อยู่ในเขตป่าได้

บทความนี้ไม่มีเจตนาที่จะสรุปรวมว่า ป่าชุมชนทุกแห่งกลายเป็นเทคโนโลยีอำนาจในการควบคุมชาวบ้านที่อยู่ในเขตป่า การกล่าวถึงป่าชุมชนต้องพิจารณาเป็นรายกรณีศึกษา และต้องพิจารณาบริบทของป่าชุมชนนั้นๆ ประกอบ


Last updated: 2012-11-24 09:03:35


@ ป่าชุมชน: เทคโนโลยีอำนาจควบคุมชุมชนในเขตป่าชิ้นใหม่? ตอนที่ 2
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ ป่าชุมชน: เทคโนโลยีอำนาจควบคุมชุมชนในเขตป่าชิ้นใหม่? ตอนที่ 2
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
1,446

Your IP-Address: 3.139.85.206/ Users: 
1,445