คนคิดบวกมีโอกาสสำเร็จมากกว่าคนคิดลบ
 
     
 
ป่าชุมชน: เทคโนโลยีอำนาจควบคุมชุมชนในเขตป่าชิ้นใหม่? ตอนที่ 1
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนป่าชุมชนในฐานะทางเลือกในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของสังคมไทยมักตีความและมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและรูปแบบของป่าชุมชนแตกต่างกัน
 

ในช่วงกว่าสามทศวรรษที่ผ่านมา ป่าชุมชนได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะทางเลือกในการจัดการทรัพยากรป่าไม้และแก้ปัญหาความยากจนของชาวบ้านในชนบท โดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าของรัฐ (ฉลาดชาย 2528, สมศักดิ์ 2550) นักวิชาการที่สนับสนุนแนวทางป่าชุมชนเชื่อว่ามโนทัศน์การจัดการทรัพยากรแบบรวมศูนย์อำนาจนอกจากจะไร้ประสิทธิภาพในการคุ้มครองและรักษาทรัพยากรป่าไม้แล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากร ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบทางตรงมากที่สุดก็หนีไม่พ้นชาวบ้านหรือ “ชุมชนท้องถิ่น” ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับฐานทรัพยากร ดังนั้น ข้อเสนอของนักวิชาการกลุ่มนี้คือ รัฐต้องกระจายหรือมอบอำนาจในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ให้กับชุมชนท้องถิ่นในรูปแบบป่าชุมชน หากสังคมไทยต้องการคุ้มครองและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ อีกทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านที่อยู่ใกล้ป่า เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

อย่างไรก็ดี ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนป่าชุมชนในฐานะทางเลือกในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของสังคมไทยมักตีความและมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและรูปแบบของป่าชุมชนแตกต่างกัน การขับเคลื่อนและผลักดันป่าชุมชนในสังคมไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมาจึงมักเป็นการช่วงชิงการนำในการนิยามความหมายป่าชุมชนของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การช่วงชิงการนิยามความหมายป่าชุมชนได้ปรากฏเด่นชัดมากขึ้นในกระบวนการผลักดันพระราชบัญญัติป่าชุมชนตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2530 เป็นต้นมาขณะนั้นกรมป่าไม้ในฐานะหน่วยงานหลักในการจัดสรรทรัพยากรป่าไม้มาเป็นเวลากว่าศตวรรษ ได้มองหาแนวทางส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ เพื่อทำให้ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ครอบคลุมถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ ดังที่ระบุไว้ในนโยบายป่าไม้แห่งชาติ พ.. 2528 ดังนั้น ในปีพ.. 2534 กรมป่าไม้จึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน เพื่อสร้างเครื่องมือทางกฎหมายให้กับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในการส่งเสริมให้ชาวบ้านและชุมชนท้องถิ่นปลูกต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะ และได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชนเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรภายในปีเดียวกัน

อย่างไรก็ดี ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวของกรมป่าไม้ไม่ได้รับการยอมรับจาก “เครือข่ายภาคประชาชน” ซึ่งมองว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวให้ความสำคัญกับการปลูกสร้างสวนป่ามากกว่าการรองรับ “สิทธิชุมชน” ในการคุ้มครองและรักษาฐานทรัพยากรดิน น้ำ ป่า ดังนั้น “เครือข่ายภาคประชาชน” จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชนที่เพิ่มมิติด้านสิทธิชุมชนและการจัดการทรัพยากรเข้าไปในช่วงระหว่างปี พ.. 2532-2536 มีความพยายามหลายครั้งในการเจรจาต่อรองและประสานร่างพระราชบัญญัติฉบับของกรมป่าไม้และภาคประชาชนเข้าด้วยกัน ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “การประชา-พิจารณ์” ซึ่งดูเหมือนว่าความพยายามดังกล่าวจะสัมฤทธิผลในการประชาพิจารณ์ระดับชาติในปี พ..2536 ที่จังหวัดเชียงใหม่ จัดขึ้นโดยสำนักงานกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และมีนายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธาน

ผลของการประชาพิจารณ์ครั้งนั้นได้เกิดร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชนฉบับ
“สวนบัว” อันถือว่าเป็นฉบับที่ได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุด แต่กระนั้น ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวถูกคัดค้านจาก “เครือข่ายนักอนุรักษ์” นำโดยมูลนิธิธรรมนาถ เนื่องจากทางเครือข่ายฯ ไม่เห็นด้วยในประเด็นการอนุญาตให้มีการทำป่าชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์ โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ดังนั้นนับตั้งแต่ปี พ.. 2536 เป็นต้นมา ประเด็นการจัดตั้งป่าชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์จึงได้กลายมาเป็นประเด็นความขัดแย้งทางความคิดระหว่าง “นักอนุรักษ์” กับ “นักสิทธิชุมชน” จนทำให้ปัญหาเรื่อง “คนกับป่า”กลายเป็นปัญหาคอขวดและไม่มีทางออกที่เหมาะสมในเชิงนโยบาย อย่างไรก็ดี ในปี พ.. 2550 รัฐบาลภายใต้การทำรัฐประหารของทหารได้นำร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชนกลับมาพิจารณาอีกครั้ง และมีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชนในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2550 แต่สมาชิกสภานิติบัญญัติจำนวนหนึ่งเห็นค้านกับร่างพระราชบัญญัติฉบับที่เพิ่งผ่านการอนุมัติจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติในประเด็นความไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญในประเด็นสิทธิชุมชน จึงยื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตีความร่างกฎหมายในเวลาต่อมา และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติป่าชุมชนตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และให้ระงับการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน



Last updated: 2012-11-18 11:10:54


@ ป่าชุมชน: เทคโนโลยีอำนาจควบคุมชุมชนในเขตป่าชิ้นใหม่? ตอนที่ 1
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ ป่าชุมชน: เทคโนโลยีอำนาจควบคุมชุมชนในเขตป่าชิ้นใหม่? ตอนที่ 1
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
1,239

Your IP-Address: 18.97.14.88/ Users: 
1,238