อย่ากลัวที่จะก้าวไปช้าๆ จงกลัวที่จะหยุดอยู่กับที่
 
     
 
พลังใจ
หากท่านหมดหวัง หมดอาลัยตายอยากในชีวิตอันเนื่องมาจากความรู้สึกนึกคิดว่าตนเองไม่ได้รับความยุติธรรมในการปฏิบัติงานเท่าที่ควรแล้ว
 

ก่อนที่ท่านจะอ่านรายละเอียดบทความฉบับนี้ ขอให้ท่านตอบคำถามในใจ 3 ข้อเสียก่อน หากคำตอบส่วนใหญ่ของท่านเป็นคำตอบว่า “ใช่” แล้วท่านจึงอ่านเนื้อเรื่องต่อไป หากคำตอบส่วนใหญ่ของท่านเป็น “ไม่” ท่านก็ไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อเรื่องต่อไปให้เสียเวลาอันมีค่าของท่าน

คำถามมีอยู่ว่า

“ข้อ 1 ตั้งแต่ที่ท่านเกิดมาเป็นตัวเป็นตนนั้น ท่านเคยมีเรื่องทุกข์ร้อนทั้งทางกาย และทางใจมาบ้าง ไม่มากก็น้อย”

คำถาม “ข้อ 2 ท่านเองได้พยายามหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งที่สำเร็จ และไม่สำเร็จ” และ

“ข้อ 3 ทุกวันนี้ ท่านยังมีปัญหา และเรื่องทุกข์ร้อนอยู่ และกำลังหาทางออกให้ตนเอง” หากคำตอบของท่านส่วนใหญ่เป็น “ใช่” แล้ว แสดงว่าท่านเป็นปุถุชน คนธรรมดา ไม่ได้วิเศษเลิศเลอเหนือผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม ดังนั้นจึงเชิญชวนท่านอ่านรายละเอียดในบทความนี้ต่อไปได้ ดังนี้

ข้อ 1 การที่ท่านเกิดมาแล้วต้องพานพบกับสิ่งอันไม่พึงประสงค์ และทำให้ท่านเดือดเนื้อร้อนใจ หรือเป็นทุกข์เป็นร้อนนั้น เป็นสิ่งที่ทุกชีวิตบนโลกนี้ต้องประสบอยู่เสมอ เป็นธรรมชาติของชีวิต โดยความทุกข์ร้อน และปัญหาต่าง ๆ ของแต่ละชีวิตย่อมมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความเป็นตัวตน บทบาทหน้าที่ในสังคม การใช้ชีวิตประจำวัน ฯลฯ


ข้อ 2
เพื่อให้ท่านสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขในระดับที่ท่าน และสังคมยอมรับได้ ท่านต้องคิดค้นหาทางออกให้ตนเอง ซึ่งหลายครั้งมากหนที่การตัดสินใจของท่านอาจมีทั้งที่ถูกต้อง และผิดพลาด นำมาซึ่งความสำเร็จ หรือล้มเหลวในการแก้ไขปัญหา

ข้อ 3
ทุกวันที่ท่านตื่นขึ้นมา และพบว่ายังมีชีวิตอยู่ ท่านก็มีโอกาสที่จะได้พบเห็น และเจอะเจอกับปัญหาทั้งเก่า และใหม่ตลอดเวลา การที่ท่านยังต้องมีชีวิตอยู่ ท่านต้องตั้งสติเพื่อเผชิญหน้ากับปัญหา และหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมที่สุดต่อไป

จากภาพรวมทั้งหมด
ทุกท่านคงไม่อาจปฏิเสธความจริงดังกล่าวได้ ดังนั้น แทนที่จะหลบหนีปัญหา และความทุกข์ร้อน (ซึ่งไม่มีวันจะหลีกหนีพ้น ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่) ทุกท่านควรพิจารณาตนเองในลักษณะบุคคลภายนอกที่มองเข้ามาเพื่อตัดสินใจแก้ไขปัญหาอย่างถูกครรลองคลองธรรม ตามบทบาทหน้าที่แห่งตนในสังคม

กรณีที่สามารถยกขึ้นมาเป็นอุทาหร
สอนใจอย่างชัดเจน คือ กรณีผู้ปฏิบัติงานด้านการป่าไม้ที่เป็นประชาคมกลุ่มใหญ่ที่สุดในระบบการจัดการป่าไม้ของประเทศไทย หากท่านหมดหวัง หมดอาลัยตายอยากในชีวิตอันเนื่องมาจากความรู้สึกนึกคิดว่าตนเองไม่ได้รับความยุติธรรมในการปฏิบัติงานเท่าที่ควรแล้ว แทนที่ท่านจะมัวทอดอาลัย หรือหมดกำลังใจไปกับสิ่งเหล่านี้ ท่านควรมองไปข้างหน้า ทบทวนความรู้ และประสบการณ์ ขยันหมั่นเพียร และประพฤติปฏิบัติตนเพื่อรองรับการปฏิบัติหน้าที่ให้สมภาคภูมิกับความเป็น “วนกร”� เพราะไม่มีประโยชน์แม้น้อยนิดที่จะเสียเวลา เศร้าโศกเสียใจกับอดีตที่ไม่ย้อนกลับ อย่างมากอาจทำได้เพียงพิจารณาใคร่ครวญถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นบทเรียนราคาแพง และเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป จึงจะเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเอง ตลอดจนสังคมส่วนรวม
หากทุกท่านครองสติเพื่อแก้ไขปัญหาของตนเองได้แล้ว ความภาคภูมิใจในความเป็น “วนกร” ที่แท้จริงจะปรากฏขึ้น และฝังรากลึกในจิตใจ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้จิตใจมีความเข้มแข็ง พร้อมที่จะฟันฝ่าปัญหาอุปสรรค และความทุกข์ร้อนอันใหญ่หลวงทั้งของตนเอง สังคม และประเทศชาติในภายหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และนั่นคือปรัชญาสูงสุด
ของ “วนกร” ที่มีความรอบรู้ รู้รอบ คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น สามารถเป็นที่พึ่งของสังคม และประเทศชาติได้



Last updated: 2010-11-03 22:11:02


@ พลังใจ
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ พลังใจ
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
1,183

Your IP-Address: 18.191.200.114/ Users: 
1,182