�
จากการติดตามยุทธการทวงคืนผืนป่าของทั้งกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่าและพันธุ์พืชมาโดยตลอด ไม่ว่าจากข่าวหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่อทางโทรทัศน์
และสอบถามไปยังบรรดาน้องๆที่ปฏิบัติหน้าที่ในภาคสนาม ว่าเมื่อเรายึดคืนพื้นที่ที่ปลูกยางพารา
ทำไมเราจึงต้องตัดต้นยางพาราทิ้ง คำตอบที่ได้บางคนก็ให้ข้อมูลว่าไม้ยางพารามีขนาดเล็กอยู่
ทางกรมให้โค่นทิ้ง หากยางพาราที่อายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปที่ให้น้ำยางได้ให้โค่นทิ้ง
40 เปอร์เซ็นต์� คงเหลือไว้ 60 เปอร์เซ็นต์
แต่จะโค่นอย่างไรยังไม่มีแนวทางปฏิบัติ กรณีที่ว่านี้จะเป็นสวนป่าที่เข้าตรวจยึดและไม่ทราบตัวผู้ต้องหาหรือเจ้าของสวนไม่แสดงตัว�
ในกรณีที่แสดงตัวหรือจับตัวเจ้าของได้ยังไม่ทราบวิธีปฏิบัติ
เพราะยางพาราที่เขานำมาปลูกเป็นทรัพย์สินที่เจ้าของสามารถเรียกคืนได้หรือไม่
ยังไม่ทราบ เหตุและผลของการต้องตัดต้นยางพาราเพื่อปลูกป่าขึ้นใหม่�
ฯพณฯท่านรัฐมนตรีดาว์พงษ์
รัตนสุบรรณ ท่านเคยให้สัมภาษณ์ว่า สวนยางพาราเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว
และรากของต้นยางพาราไม่อุ้มน้ำอีกด้วย
ความเห็นนี้คงเป็นของเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
นำเสนอท่าน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วชาวป่าไม้ทุกคนคงพอจะทราบเช่นเดียวกับท่าน
การปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นเนื้อที่ผืนใหญ่ย่อมมีโรคระบาดง่ายและรุกลามเร็ว� ทำอันตรายต้นไม้ให้ได้รับความเสียหายจนหมด
สำหรับรากที่ว่าไม่อุ้มน้ำ ถ้าท่านเคยเดินเข้าไปในสวนยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 5
ปีขึ้นไป ท่านจะเห็นเรือนยอดเบียดเสียดชิดกัน บดบังแสงอาทิตย์ส่องไม่ถึงพื้น� แม้แต่ต้นหญ้าก็ไม่สามารถขึ้นอยู่ได้
อย่าคิดไปถึงไม้ชนิดอื่นเลย จึงทำให้พื้นดินเตียนโล่ง
บางแห่งถูกทับถมด้วยใบยางพาราที่ร่วงหล่นลงมาทับถมปิดบังดินไว้หมด เวลาฝนตกน้ำจะไม่ซึมลงดินแต่จะไหลหลากที่หน้าดินแทน
เสมือนราดน้ำไปบนพื้นปูนซีเมนต์ที่ฉาบมัน จึงทำให้ดินไม่อุ้มน้ำ
เป็นลักษณะทางกายภาพที่ผู้เขียนนำมาเล่าสู่กันฟัง...?
เรามาดูว่าทำไมการปลูกยางพาราเป็นผืนขนาดใหญ่บ้าง� เล็กบ้างจึงไม่สามารถจัดให้เป็นป่าตามธรรมชาติ
เหมือนการปลูกไม้ยาง ประดู่ พะยูง ก็เนื่องมาจาก การเตรียมพื้นที่ปลูก
ที่แตกต่างจากการปลูกสวนป่าทั่วไปของเรา การปลูกยางพารานั้น
พื้นที่ต้องไม่มีตอไม้หลงเหลืออยู่เลย ผู้เขียนเคยสงสัย
ในสมัยอยู่หน่วยป้องกันรักษาป่า
มีเกษตรอำเภอเอาบัญชีรายชื่อเกษตรกรมาให้แล้วบอกว่าเกษตรกรในบัญชีเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกยางพารา
ของกรมการส่งเสริมการเกษตร
อาจมีบางคนมีที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติขอให้ทางป่าไม้อนุโลมให้ด้วย
ในตอนแรกไม่ได้ใส่ใจอะไร พอมาวันหนึ่งเข้าพื้นที่เห็นชาวบ้านระดมกันตัดฟันไม้หนุ่ม
ไม้แก่ออกจากพื้นที่ของตนจนหมด จึงเข้าจับกุมรายที่บุกรุกป่า
ได้เลื่อยโซ่ยนต์มาหลายตัว สอบถามได้ความว่า
เจ้าหน้าที่เกษตรบอกว่าถ้าปลูกยางพาราต้องตัดต้นไม้ออกหมด แม้แต่ตอต้องเอาออก
ชาวบ้านบางคนไม่มีปัญญาจ้างรถแบ็กโฮมาขุดตอ จำเป็นต้องเผาตอทิ้ง และรอจนเน่าเปื่อย
ขั้นตอนเมื่อเอาตอไม้ออกหมดแล้วต้องไถดะ 2 ครั้ง และไถพรวนอีก 1
ครั้งการเตรียมแปลงโดยการไถปรับพื้นที่ในลักษณะเช่นนี้
เป็นการทำลายธรรมชาติเดิมหมดไปจะเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ เช่น สวนป่าคอนสาร
จังหวัดชัยภูมิ จะเห็นว่าเจ้าหน้าที่สวนป่าได้ทำลายไม้ธรรมชาติเช่นประดู่ แดง
เหียง พลวง ไผ่ ฯลฯ เมื่อปลูกยางพาราทำให้พื้นที่เสื่อมสภาพไปอีก
นี้น่าจะเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่สวนป่าไม้ยางพาราจัดให้เป็นสวนป่าธรรมชาติไม่ได้
เนื่องจากไม่ได้เพิ่มระบบนิเวศเสมือนป่าไม้ทั่วๆไป...?
เหตุในการตัดต้นยางพาราเมื่อเราทวงคืนผืนป่านั้น
เมื่อ ปี พ.ศ.2557 ตอนเราเปิดยุทธการทวงคืนผืนป่าที่อุทยานแห่งชาตินพรัตน์ธารา
หมู่เกาะ พี พี จังหวัดกระบี่ เมื่อยึดคืนพื้นที่แล้วมีการตัดฟันพืชผลอาสิน คือ
ปาล์ม และยาพารา กว่า 2.2 หมื่นไร่ โดยก่อนหน้านี้ พลเอกประยุทธ� จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(คสช.) ได้ขอให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชและกรมป่าไม้
ไม่ให้ตัดตัดฟันไม้ยางพาราที่กรีดยางได้ และให้หาแนวทางให้ใช้ประโยชน์ได้
อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ไม่อาจให้ใช้ประโยชน์ดังกล่าวได้
ความเห็นดังกล่าวของหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดังกล่าวทำให้ นางมิ่งขวัญ
วิชัยรังสฤษดิ์ ปลัดกระทรวงทรัพย์ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในขณะนั้น
ได้เรียกประชุมกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่าและพันธุ์พืชและกรมป่าไม้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไปปัญหาสวนยางพาราบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ทั้งนี้ภายหลังประชุม
ได้มีหนังสือถึง พลเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.)ในฐานะหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานเรื่อง
แนวทางการจัดการต้นยางพาราที่ปลูกในป่าโดยมิชอบ
โดยระบุว่าตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ
ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจหลายครั้งเกี่ยวกับการควบคุมพื้นที่ไม่ให้มีการบุกรุกแผ้วถางเพิ่มเติม
ไม่ให้มีการปลูกยางพาราอย่างไม่จำกัด
รวมทั้งเรื่องการยับยั้งการตัดยางพาราที่ปลูกในพื้นที่ป่าโดยมิชอบ
แต่ยังมีข่าวปรากฏในรายการโทรทัศน์ และเว็บไซด์เกี่ยวกับการทวงคืนผืนป่า
และการรื้อถอนพืชผลอาสิน� เมื่อวันที่ 19
สิงหาคม 2557 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขอเรียนว่าได้ดำเนินการตามข้อสั่งการของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
และได้จัดประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้พิจารณากำหนดแนวทางการจัดการต้นยางพาราที่ปลูกในพื้นที่โดยมิชอบ
ที่ประชุมได้จัดทำร่าง ดังนี้…
1.กรณีป่าสงวนแห่งชาติ
ในส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1,2 และพื้นที่ป่าอนุรักษ์โซนซี สำหรับยางพาราที่มีอายุ
1-3 ปี ดำเนินการตัดหมดในคราวเดียว ต้นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 3
ปีขึ้นไปหรือสามารถกรีดยางได้ ให้ทยอยตัดพร้อมกับปลูกไม้ป่าเสริมคืนสภาพเป็นป่า
สำหรับไม้ยางพาราที่ใช้เป็นสินค้ามอบให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นผู้ดำเนินการส่วนพื้นที่ชั้น
3,4,5 (พื้นที่มีความลาดชันต่ำ)� สำหรับต้นยางที่มีอายุ
1-3 ปี ดำเนินการตัดหมดในคราวเดียว�
ต้นยางที่มีอายุ 3-7 ปี
สามารถกรีดน้ำยางได้ให้ทยอยตัดโดยมอบให้กรมป่าไม้เป็นผู้ดำเนินการ� ส่วนต้นยางที่มีอายุ 7 ปี ขึ้นไปสามารถกรีดน้ำยางได้� กรณีพื้นที่ตั้งแต่ 500 ไร่ มอบให้องค์การอุตสาหกรรมปาไม้
(อ.อ.ป.) เป็นผู้ดำเนินการ� กรณีพื้นที่��� น้อยกว่า 500 ไร่� ให้กลุ่มสหกรณ์หมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)เข้าไปใช้ประโยชน์ในรูปป่าชุมชน
ป่าใช้สอย สำหรับการจัดเก็บรายได้จากการขายยางและขายไม้ยางพารา ร้อยละ 20
ของรายได้จากการขายน้ำยางและการขายไม้ยางพารามอบให้กรมป่าไม้เพื่อใช้เป็นเงินกองทุนในกิจการด้านป้องกันรักษาป่า
ร้อยละ 20
ของรายได้จากการขายน้ำยางและไม้ยางพาราให้กองทุนสหกรณ์หมู่บ้านหรือองค์การบริหารส่วนตำบล
สำหรับใช้ในกิจการด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และร้อยละ 60
ของรายได้จากการขายน้ำยางพารา และไม้ยางพาราเป็นของผู้ดำเนินการ� โดยร้อยละ 80
ของรายได้จากการขายน้ำยางพาราและไม้ยางพารามอบให้องค์การอุตสาหกรรมปาไม้ �(อ.อ.ป.) และร้อยละ 20
จากการขายน้ำยางและไม้ยางพารามอบให้กรมป่าไม้…
��������������� 2.สำหรับป่าอนุรักษ์แบ่งเป็นกรณี
พื้นที่บุกรุกก่อนประกาศเป็นป่าสงวนหวงห้าม�
เป็นพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายครั้งแรก หรือก่อนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ
30 มิถุนายน 2541 (ประมาณ 320,000 ไร่)�
ให้ดำเนินการตามมาตรการและแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 30
มิถุนายน 2541 ซึ่งไม่มีการดำเนินการจับกุมดำเนินคดีแต่อย่างใด� ส่วนกรณีอยู่หลังมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ
30 มิถุนายน 2541 (ยึดตามแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศปี 2545)
ต้นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 1-3 ปี
ให้ดำเนินการตัดหมดในคราวเดียวและดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่าและดำเนินการปลูกไม้เสริมเพื่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ� ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า� เนื่องจากปัจจุบัน พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
2504 และ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535�
ไม่มีบทบัญญัติให้ราชการหรือราษฎรมีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
หากจำเป็นให้มีการใช้ประโยชน์จากต้นยางพาราดังกล่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกฎหมายต่อไป...
��������������� พอร่างเสร็จไม่นาน
นางมิ่งขวัญ� วิชัยรังสฤษฏ์�
ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม� ก็ถูกย้าย�
ร่างดังกล่าวจึงไม่ทราบว่า�
ได้มีผู้ใดนำเสนอรัฐมนตรีหรือไม่และเป็นอย่างไร� จะว่าไปแล้วแม้บางคนคิดว่าอาจไม่สมบูรณ์�
แต่มีสิ่งหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติต้องการมากที่สุดคือแนวทางปฏิบัติที่จะได้การทำงานไปในทิศทางเดียวกันและไม่ต้องกลัวว่าจะผิดกฎหมายหรือระเบียบอื่นใดที่เกี่ยวข้อง� สิ่งต่อไปนี้คือคำถามที่ติดตามหามานาน� ในสมัยที่บรรจุใหม่ ๆ
ได้ข่าวว่าเจ้าหน้าที่จับกุมการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติในตอนนั้นยังไม่มีประสบการณ์� เป็นพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง� เจ้าหน้าที่ป่าไม้ของเราจับได้ตัวผู้ครอบครอง� จึงบันทึกการจับกุมฐาน บุกรุก ครอบครองป่าสงวนตามมาตรา
14 แห่ง พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507
ส่วนมันสำปะหลังเจ้าหน้าที่พากันฟันทิ้ง�
ต่อมา ได้ข่าวว่าป่าไม้ชุดนั้นถูกฟ้องกลับในคดีแพ่ง
ฐานทำให้เสียทรัพย์�
ต้องชดเชยค่าเสียหายให้เจ้าของแปลงมันสำปะหลัง�
ข่าวแพร่สะพัดพวกเราเด็กใหม่พอเข้าป่าเห็นพื้นที่ใดถูกบุกรุกปลูกมันสำหะหลังจะรีบเดินผ่านไม่ขอเข้าไปยุ่งเกี่ยว� เพราะพวกเราไม่แตกฉานในข้อกฎหมายว่ายังมีมาตรา
25 แห่ง พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และ มาตรา 22 แห่ง พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. 2504�
ที่ให้อำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำสั่ง� ยึด รื้อ ถอน ทำลาย โดยประกาศให้ทราบภายใน 30
วัน เมื่อครบกำหนดแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจทำการรื้อ ถอน ยึดทำลาย
ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งตาม พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
ก็ดำเนินการคล้ายคลึงกัน�
สมัยนั้นเราเข้าใจว่าอะไรที่ขึ้นอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติจะต้องเป็นของป่าและไม้หวงห้าม� ไม่เคยคิดว่ามันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด
กะหล่ำปลี �����จะเป็นพืชผลอาสิน
ต้นยางพาราเป็นไม้ยืนต้น และแม้แต่สิ่งปลูกสร้างเช่น กระต๊อบ
เถียงนาหรือบ้านเราก็มีสิทธิรื้อถอนได้ทันที
นี้ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เรายังไม่กระจ่างนักกับคำว่า ของกลาง
อุปกรณ์ในการกระทำความผิดและทรัพย์สิน ใครจะอธิบายได้บ้าง...????
��������������� มาดูฎีกาป่าไม้ที่ 2291/2551...อนึ่งบ้านของกลางทั้ง
2 หลังที่จำเลยปลูกสร้างขึ้นในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานนั้น� มิใช่เครื่องใช้ อาวุธ สัตว์พาหนะ
ยานพาหนะหรือเครื่องจักรกลใดซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำผิด� หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำผิดโดยตรง� ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484� มาตรา 74 ทวิ�
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 29 ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา
108 ทวิ�
วรรคห้าจึงไม่อาจริบตามคำขอของโจทก์ได้�
อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 22 บัญญัติว่า
“ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้�
เป็นเหตุให้มีสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้นใหม่�
หรือมีสิ่งอื่นใดในอุทยานแห่งชาติ หรือทำให้สิ่งนั้น ๆ
กลับคืนสู่สภาพเดิมแล้วแต่กรณี�
ถ้าผู้กระทำผิดไม่ปฏิบัติตามหรือ ถ้าไม่รู้ตัวผู้กระทำผิดหรือเพื่อป้องกัน� หรือบรรเทาความเสียหายแก่อุทยานแห่งชาติ
พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการดังกล่าวแล้วอย่างใดอย่างหนึ่งเสียเองก็ได้ตามสมควรแก่กรณี� และผู้กระทำผิดมีหน้าที่ชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการนั้นเสียเองนั้น”
แสดงว่ามีสิ่งปลูกสร้างขึ้นในอุทยานแห่งชาติโดยฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ.2504 กฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว� แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ศาลสั่งจำเลยรื้อถอนบ้านของกลาง
2 หลัง แต่เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบบ้านของกลางทั้ง 2 หลัง ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนบ้านของกลางทั้งสองหลังออกไปให้พ้นอุทยานแห่งชิตได้โดยไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 192 วรรคหนึ่ง...
��������������� ข้อสังเกต� ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192
วรรคหนึ่ง กล่าวว่า�
“ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวไว้ในฟ้อง”
ซึ่งข้อเท็จจริงท่านอัยการเป็นโจทก์ท่านขอให้ริบบ้านทั้ง 2 หลัง
แต่ศาลท่านกลับสั่งให้รื้อถอนแสดงว่าบ้านทั้ง 2 หลัง เป็นกรรมสิทธิ์� เมื่อรื้อถอนแล้วยังได้ของคืน
แม้ศาลท่านจะสั่งเกินคำขอก็ตาม กฎหมายอุทยานแห่งขาติก็มีเจตนารมณ์เช่นนั้นอยู่แล้ว
แต่สำหรับไม้ยางพาราที่มีคนนำไปปลูกเนื่องจากเป็น ���������“ไม้ยืนต้น” มิใช่ไม้ “ล้มลุก”การเจริญเติบโตขึ้นเป็นไม้ยืนต้นย่อมติดยึดตรึงไว้กับดินอย่างถาวร� เมื่อนำไปปลูกในป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติย่อมเป็นทรัพย์ส่วนควบในที่ดินป่าไม้
ทรัพย์นี้จึงตกเป็นของแผ่นดิน�
จึงจำเป็นต้องมีระเบียบกฎหมายขึ้นมารองรับ�
เมื่อมีการรื้อถอนทำลายดังร่างของปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่นำเสนอในเบื้องต้น� ป่าสงวนแห่งชาตินั้นคงไม่ยากนัก� แต่อุทยานแห่งชาติ ����เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
กฎหมายไม่ได้เปิดโอกาสให้จัดการมีเพียงให้ศึกษาทางวิชาการ เท่านั้น...?
��������������� ปรัศนีที่ตามหาว่าบ้านพัก
โรงเรือน โรงแรมที่ก่อสร้างขึ้นในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และในอุทยานแห่งชาติ
รวมทั้งต้นยางพาราที่นำไปปลูกเมื่อดำเนินการจับกุมแล้วของทั้ง 2 สิ่งเป็นของใคร
จากฎีกาป่าไม้ที่ 2291/2551�
ให้ความกระจ่างว่าบ้าน 2 หลัง ที่ปลูกในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นของเจ้าของผู้เข้าครอบครองโดยมิชอบ� ��������ให้เจ้าของมารื้อเอาไป�
แต่ไม้ยางพารานั้นเป็นทรัพย์ส่วนควบในที่ดินป่าไม้จึงต้องเป็นของรัฐเพราะเป็นไม้ยืนต้น� ไม้ใช้ธัญพืชหรือไม้ล้มลุกตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์� มาตรา 145 เมื่อเราได้คำมั่นใจในคำตอบแล้วต่อไปเราจะจัดการกับสิ่งปลูกสร้างหรือไม้ยืนต้นอย่างไร�
ก็คงไม่ยากนักเพราะกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ได้บัญญัติไว้บ้างแล้ว...�
สำหรับวิธีปฏิบัตินำร่างของท่านอดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คุณมิ่งขวัญ� ���������วิชัยรังสฤษฏ์ มาพิจารณาทบทวนดูหากผู้รู้เพิ่มเติมหรือเห็นว่าสมบูรณ์แล้วจะนำประกาศใช้ก็ไม่น่าจะเกิดความเสียหาย��� แต่อย่างใด�
สิ่งที่เราต้องการขณะนี้คือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการกับไม้ยางพาราที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
ดังนั้น โจทย์ที่เราตามหาเป็นข้อข้องใจในระดับหนึ่งคิดเป็นตัวเลขถ้าคิดเป็นตัวเลขก็น่าจะเกิน
80 เปอร์เซ็นต์ ถือว่า�������� สอบผ่าน..??
�

Last updated: 2015-11-22 21:06:38