เปิดฉากขึ้นมา เล่นเอาผู้อ่านบางท่านงุนงงก็เป็นได้ ที่เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาก็ได้แรงบันดาลใจจากที่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันศุกร์ที่ 5 กันยายน 2557 ที่ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ว่า ตนเองไม่เชื่อกรมที่ดินอีกต่อไปแล้ว กรณีกรมที่ดินออกเอกสารสิทธิ์ให้บริษัท ลายันภูเก็ต ทั้งที่พื้นที่เป็นน้ำ 70 เปอร์เซ็นต์ ตนได้ขอเอกสารการออกเพิ่มเติมจากกรมที่ดิน แต่ไม่มีใครตอบรับอะไรทั้งสิ้น สิ่งที่กรมที่ดินแถลงออกมานั้นไม่ถูกต้อง แถลงออกมาแบบผู้ใหญ่เลี้ยงแกะ เชื่อไม่ได้...
เรื่องนี้ได้ตีพิมพ์ไปหลายฉบับ ในวันเดียวกันกับมติชนก็ลงหัวข้อข่าว “อุทยานชนกรมที่ดิน ซัดผู้ใหญ่เลี้ยงแกะ” ไม่ปรากฏว่าคนให้ข่าวจะเกรงกลัวว่า อาจจะมีผลกระทบระหว่างหน่วยงานของทางราชการ และอาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อน กรมอุทยานแห่งชาติมิได้มีท่าทีอะไรกับการให้ข่าวในลักษณะนี้ และจะเป็นการให้ข่าวตาม “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้ข่าวและบริการข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2529” ด้วยหรือไม่ ที่นำออกมาให้อ่านเพื่อจะได้เห็นว่าผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ที่เราเรียกกันว่า “เอาไงเอากัน” แสดงถึงพลังความสามัคคีเป็นอันว่าให้เสร็จงานก่อนแล้วค่อยมาว่ากัน.....เสร็จนาฆ่าโคถึก....เสร็จศึกฆ่าขุนทัพ....ก็ยังไม่สาย� แต่กรณีนี้ไม่เกิดขึ้นกับทีมงานนี้เด็ดขาด� ดังได้กล่าวมาข้างต้นว่าเป็นเนื้อเดียวกัน...?
นำเรื่องดังได้เล่ามาข้างต้นมาเปรียบเทียบกับอีกกรณีหนึ่ง ต่างกันราวฟ้ากับดิน เรื่องมีอยู่ว่า...ระหว่างปี 2549 ถึง 2551 ช่วงนั้นการลักลอบตัดไม้พะยูงเพื่อส่งขายต่างประเทศกำลังระอุและรุนแรง หากเป็นกราฟใกล้จะถึงจุดพีคแล้ว ในตอนนั้นผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 คือท่านสมศักดิ์� เนติรังสีวัชรา ต้องขออภัยที่เอ่ยนามท่าน ในตอนนั้นท่านไปอบรมผู้บริหารระดับสูง นปส. รวมระยะเวลา ทั้งในและไปต่างประเทศด้วย 4 – 6 เดือน ผู้เขียนในฐานะหัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ อาวุโสสุด กรมจึงแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาราชการแทน อันดับ 1� ท่านผู้อำนวยการสำนักฯ ท่านจะแวะมาเดือนละ 1 – 2 ครั้งศึกหนักในการรับมือกับพวกลักลอบตัดไม้พะยูงในแถบอีสานตอนล่างหนักหนาสาหัส กลางวันไปจับไม้ที่มีผู้หวังดีแจ้ง กลับมาตอนเย็นนั่งเซ็นหนังสือ พอมาถึงตรงนี้บางคนสงสัยว่าขยันไม่เข้าเรื่องงานปราบปรามเป็นงานของส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร แค่สั่งก็คงพอ ที่จริงก็น่าจะเป็นอย่างนั้น ถ้าองคาพยพสมบูรณ์ไปเสียทุกอย่าง นี้ดีว่าส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรมีผู้อำนวยการส่วน เป็นเพื่อนกันและมีฝีมืออีกด้วย แต่งานใหญ่บางครั้งขุนต้องออกศึก...
ช่วงนั้นกลยุทธ์ในการทำไม้ของพ่อค้ารายใหญ่ไปทิศในทางที่นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ล) เข้าทางด่านศุลกากร� ดังนั้นตามท้องที่อำเภอชายแดน เช่น เขมราฐ พิบูลมังสาหารและช่องเม็ก จึงมีโกดังผุดขึ้นมากมายค้นโกดังไหนเจอไม้กองเต็มไปหมด� ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ฯ จึงต้องแบ่งหน้าที่กับผู้รักษาราชการแทนตามค้น� ในตอนแรกบางโกดังจะมีไม้ไม่ใคร่จะสวยนักคาดว่าคงนำมาจากที่ดินกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองหรือป่าสงวนแห่งชาติในความดูแลของกรมป่าไม้ มีคนตั้งข้อสงสัยว่าทำไมเราต้องไปจับไม้พวกนี้ หน้าที่ของเราคือป่าอนุรักษ์ จึงตอบกลับไปว่าไม้ในป่าอนุรักษ์กับไม้ในป่าสงวนแห่งชาติไม่ใช่ไม้ในเมืองไทยหรืออย่างไร อย่าเกี่ยงกันเลย ในตอนหลังๆค้นโกดังพบไม้สดใหม่ลักษณะสวย พอจะเริ่มมองออกแล้วว่าพ่อค้าเริ่มรุกเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเสียแล้ว� ในเรื่องเหล่านี้ได้เขียนเล่าใน “พะยูงฤาจะสูญสิ้นแผ่นดินไทย” ซึ่งได้เขียนไว้ทั้งสิ้น 20 ตอน...
ในช่วงที่กำลังชุลมุนกับไม้พะยูงอยู่นี้เกิดกระทบกระทั่งกันระหว่างสองกรม� กรมป่าไม้ก็บอกว่าให้กรมอุทยานแห่งชาติดูแลอย่าให้ไม้หลุดออกมาเสียก็สิ้นเรื่อง� ทางฝ่ายกรมอุทยานแห่งชาติฯ ก็โต้ไปว่าไม่มีไม้ออกจากอุทยานแห่งชาติแต่อย่างใด ผู้เขียนในฐานะรักษาราชการจึงได้ชวนคุณประเวศ� สุจินพรหม� ออกไปสำรวจป่าบริเวณบ้านไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา พบไม้พะยูงถูกลักลอบตัด จำนวน 10 กว่าต้น จึงได้บันทึกภาพและกลับมานำรายงานกรมไว้ก่อน พอดีกับทางกรมส่งท่านรองอธิบดีฝ่ายปราบปรามฯ มาควบคุมเหตุการณ์ เนื่องจากข่าวการลักลอบตัดไม้ส่งขายต่างประเทศกระฉ่อนไปมากมีการจับกุมเป็นรายวัน วันละหลายคดี� ทางสำนักมีการประชุมหาแนวทางในการป้องกัน พอประชุมเสร็จท่านรองให้หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพาเข้าป่าไปตรวจสอบไม้ที่ทางสำนักรายงาน� ไม่รู้ว่าหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคนไหนบอกว่าที่ผู้เขียนไปตรวจสอบเป็นพื้นที่ป่าตามมติคณะรัฐมนตรีป่าห้วยสำราญ� ไม้ไม่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ท่านรองถาม ผู้เขียนก็ยืนยัน� ท่านรองก็ยืนยันที่ไปตรวจว่าไม้ไม่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์� ผู้เขียนไม่อยากที่จะโต้ตอบผู้ใหญ่ เสียดายวันที่ไปไม่ได้เอาเครื่องจีพีเอสไปจับไม่อย่างนั้น ได้เห็นดีกัน� ใครจะไปรู้พื้นที่ตรงนั้นดีเท่าผู้เขียน เพราะตอนเป็นหัวหน้าสำนักพัฒนาป่าไม้ที่ ศก.2 อำเภอขุขันธ์ เป็นพื้นที่อยู่ในความควบคุมเดินเข้าออกเป็นประจำ และหมู่บ้านด้านหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไม่ว่าจะเป็นบ้านไพรพัฒนา บ้านโอปังโกว์ บ้านจำป่านวง เป็นหมู่บ้านที่กองกำลังสุรนารีขอใช้พื้นที่จัดที่ทำกินให้ราษฎร� เป็นหมู่บ้านป้องกันตนเองตามแนวชายแดนไทย (ปชด.) และพอย้ายมาอยู่อำเภอสังขะ ก็คุมป่าตามมติคณะรัฐมนตรีป่าห้วยสำราญ� มารู้ทีหลังว่าท่านรองไม่อยากให้มีข่าวออกไปว่ามีไม้พะยูงออกไปจากเขตป่าอนุรักษ์� เพราะท่านรับผิดชอบเรื่องนี้อยู่คงหวังดีเกรงว่าผู้ใหญ่ในกระทรวงตำหนิ แล้วท่านรองก็กลับไป...
พอดีกับสำนักฯมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร ท่านรองสมศักดิ์ (อดีตรองอธิบดีกรมป่าไม้) ท่านย้ายเข้ากรม สำนักฯได้ผู้อำนวยการใหม่ซึ่งเป็นรุ่นน้องเป็นเฟรชชี่� ผู้เขียนมัวแต่อยู่กับการติดตามจับพวกลักลอบตัดไม้มพะยูงทั้ง 6 จังหวัด เนื่องจากได้รับหนังสือร้องเรียนมาก� สาเหตุที่มันมากเนื่องจากผู้หวังดีถ้าแจ้งแล้วมีเจ้าหน้าที่ไปจับหรือจัดการให้จะพยายามให้เบาะแสไม่ขาดสาย มันเป็นสัจจะธรรม หากแจ้งแล้วหาย ไม่แจ้งดีกว่าเปลืองกระดาษ เรื่องไม้พายุ่งมันเป็นจริงว่าเป็นไม้อาถรรพ์ เพราะเรื่องนี้อยู่ดีๆ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร ของสำนักฯ ถูกย้ายประจำกรมโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำเอามึนไปเหมือนกัน� ทางกรมจึงแต่งตั้งผู้เขียนทำหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรอีกหน้าที่หนึ่ง พระเจ้าช่วยคนๆเดียวทำหน้าที่ 3 ตำแหน่ง ดีว่ากลุ่มวิชาการได้มือระดับโปรคือคุณวิสูตร อยู่คง ช่วยทำหน้าที่ และเวลาใดที่รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักฯมีคุณสุวิชญ์� มณีอินทร์ เป็นเลขา ผู้เขียนคุ้นเคยกับรุ่น 43 มาก เพราะที่ไปบรรจุที่อุบลราชธานี มีคุณวิสูตร อยู่คง,คุณสุวิชญ์ มณีอินทร์, คุณศุภชัย ดลประสิทธิ์, คุณสุรศักดิ์ ชโยวรรณ, คุณเรืองศักดิ์ ทีฆสูต และคุณดิเรก ศิริจงประเสริฐ คนสุดท้ายจำชื่อจริงไม่ได้เรียกว่า “คุณบัง” ที่ขอกล่าวชื่อมานี้ขอฝากความคิดถึงทุกคนในซีรีย์4 ���������จาก ซีรีย์ 3 ...?
พอทำหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรได้สักระยะหนึ่งในราวปลายเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2551 เจ้าหน้าที่ในส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรมาแจ้งให้ทราบว่า ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ “มติชน”ประสานมาว่าเมื่อสัมภาษณ์ผู้ว่าราชการจังหวัดเสร็จขอสัมภาษณ์ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 ในวันนั้นผู้อำนวยการสำนักฯ ไม่อยู่จึงคิดในใจว่าดีเหมือนกันจะได้บอกปัดไป พอได้เวลาประมาณสี่โมงเย็นมีนักข่าวมาติดต่อ เจ้าหน้าที่พามาพบ� ผู้เขียนจึงได้นั่งพูดคุยกันเพียงลำพังสองคนในห้องผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ฯ� ในขั้นแรกได้บ่ายเบี่ยงไปว่าผู้อำนวยการสำนักฯไม่อยู่� แต่ผู้สื่อข่าวบอกว่าอยากจะสัมภาษณ์ผู้เขียนเจาะจงตัวมาเลย� ผู้เขียนได้อ่านระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข่าวและบริการข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2529 มาเรียบร้อย เตรียมการ์ดสูงไว้แล้ว� ในขณะนั้นในฐานะผู้รักษาราชการแทนสามารถที่จะให้ข่าวสารได้ตามที่ระเบียบกำหนด� แต่ต่อรองไปว่าอย่าเป็นการสัมภาษณ์กันเลยเอาเป็นว่ามาคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันดีกว่า� จึงได้เล่าขบวนการลักลอบตัดไม้ที่กำลังเป็นอยู่ให้ฟังโดยพยายามไม่ระบุตัวบุคคลบางครั้งก็เป็นเพียงหน่วยงาน� เพราะเข้าใจว่าคนทุกอาชีพในองค์กรของตนมิใช่จะมีคนดีเสียทั้งหมดย่อมมีเลวบ้างปะปนกันไป� มิฉะนั้นโลกจะไม่วุ่นวายขนาดนี้แต่ไม่ยอมให้เอกสารและถ่ายภาพอะไรทั้งสิ้น� และก็ได้ข้อมูลจากนักข่าวไม่น้อยทีเดียวโดยเฉพาะที่ท่าเรือกรุงเทพฯ� ประมาณเวลาสักชั่วโมงนักข่าวขอลากลับว่าจะรีบไปทำสกู๊ปข่าวเนื่องจากบรรณาธิการเร่งเพราะเรื่องนี้กำลังดังเป็นพลุ…?
��������������� หลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์� ขณะที่กำลังขับรถกลับจากกรุงเทพฯไปอุบลราชธานี� รถมาถึงอำเภอกลางดงได้รับโทรศัพท์จึงจอดรถเข้าข้างทาง� ได้รับรายงานจากคุณสุรเดช� อัคราช� เจ้าหน้าที่ป่าไม้ของกรมป่าไม้ที่เคยร่วมงานกัน แจ้งว่าหนังสือพิมพ์ลงข่าวพี่เป็นการใหญ่� จึงได้ถามว่าเป็นหนังสืออะไร� พอได้คำตอบนึกสังหรณ์ใจว่านักข่าวทำเรื่องให้แล้ว� วันนั้นอุตส่าห์กำชับแล้วว่าผมให้ข่าววันนี้เขียนให้ดีๆนะ อย่าให้มีเรื่องมาถึงเด็ดขาด� นักข่าวบอกว่าสบายใจได้พี่สำนักพิมพ์เขามีฝ่ายกฎหมายคอยกรองให้แล้ว� จึงไม่ติดใจอะไร� พอกลับมาถึงอุบลฯพักนอน...
รุ่งเช้าเข้าที่ทำงานตั้งใจว่าจะให้เจ้าหน้าที่ไปหาซื้อหนังสือพิมพ์มติชนฉบับเมื่อวานมาอ่านดู� คนไปซื้อยังเดินไม่พ้นห้องมีผู้หวังดีจากฝ่ายบริหารทั่วไปปริ้นข่าวจากคอมพิวเตอร์มาให้ดูก่อนตัวหนังสือเลอะเลือนมากอ่านไม่สะดวกแต่ที่น่าตกใจเพราะหนังสือพิมพ์มติชนยอมเสียสละหน้าที่ 9 ทั้งหน้าลงใช้หัวข้อข่าวว่า� “แกะรอย แก๊ง ไม้พะยูง เหิมเกริมโค่นป่า – ค้าข้ามชาติ” ทั้งหน้าบรรจุรูปภาพตรงกลาง 4 รูป� จำได้หมดว่าเป็นไม้ที่ผู้เขียนจับทั้งหมด� ไม่รู้นักข่าวไปได้ภาพมาจากไหน� และเริ่มรายงานบทสัมภาษณ์อธิบดีกรมศุลกากรในเรื่องสำแดงเท็จก่อน� แล้วก็เป็นสถิติคดีของตำรวจภูธรภาค 3 ตั้งแต่ปี 2549 – 2550� ด้านขวามือเกือบ 2 พารากราฟเป็นเรื่องราวการลักลอบตัดไม้เป็นขบวนการที่ได้รับข้อมูลจากผู้เขียนโดยเริ่มย่อหน้า� นายทศนารถ� สวันตรัจฉ์� ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร� สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)� เปิดเผยถึงขบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงว่า� (นักข่าวเขียนไปสัก 15 บรรทัด แล้วย่อหน้าใหม่)� “นายทศนารถยังระบุอีกว่าการส่งออกไม้พะยูงมีนายทุนทำเป็นขบวนการที่ใหญ่มากมีเงินทุนสูง� ทุ่มเงินซื้อข้าราชการผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรบางคน� นำไม้พะยูงเข้ามาทางด่านศุลกากรอ้างเป็นไม้นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำให้ถูกต้อง แต่ข้อเท็จจริงเป็นการสวมไม้โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรบางนายสร้างเอกสารนำเข้าไม้อันเป็นเท็จ”�
พออ่านมาถึงตรงนี้ก็มีสังหรณ์ในใจแล้วว่าต้องมีเรื่องไม่ดีแน่ตัดใจอ่านจนจบก็ไม่พบสิ่งผิดสังเกต� จึงคิดว่าเจ้า 2-3 บรรทัดนี้แหละตัวต้นเหตุที่ทำให้ทุกคนดูผู้เขียนเป็นคนแปลกตา� เจ้าหน้าที่ในสำนักงานแม้แต่ ประเวศฯก็คงงงว่าไปให้ข่าวตั้งแต่เมื่อไหร่� ไม่มีใครรู้เพราะนักข่าวมาตอนใกล้จะเลิกงานและก็ได้คุยกันตัวต่อตัวไม่มีบุคคลที่สามอยู่แม้แต่คนเดียว เรื่องนี้ไม่มีใครมาสอบถามหรือหารือแม้แต่คนเดียว ได้แต่ปลอบใจตัวเองว่าคงไม่มีเหตุการณ์อะไร� ข่าวก็คือข่าว� ตั้งหน้าตั้งตาทำงานไปได้ประมาณ 10 กว่าวัน...!!
ในวันที่ 10 มีนาคม 2551 เจ้าหน้าที่ธุรการเอาหนังสือด่วนที่สุดเข้าไปให้ถึงมือในห้อง� เป็นหนังสือ��� ด่วนที่สุด จากกรมอุทยานแห่งชาติมีมาถึงผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๙ (อุบลราชธานี)� รับมาเห็นเป็นหนังสือด่วนที่สุดจึงหยุดงานที่ค้างไว้ก่อนคิดว่ากรมคงมีเรื่องด่วน� ผู้อำนวยการสำนักฯ ก็ไม่อยู่� เด็กเห็นเรารักษาราชการแทนจึงรีบเอามาให้ คิดว่าประเดี๋ยวค่อยอ่านก็ได้ เพราะปัจจุบันนี้หนังสือมาจากกรม 50 เปอร์เซ็นต์จะเป็นไม่ด่วนมาก� ก็ด่วนที่สุด จนชาชินเสียแล้ว เก็บของเสร็จกดกริ่งขอน้ำมาดื่มแก้คอแห้ง แล้วลุกขึ้นดึงผ้าม่านหลังปล่อยให้แสงสว่างลอดเข้ามาเพราะไฟในห้องแสงไม่พอ� นั่งเก้าอี้หยิบหนังสือกรมขึ้นมาอ่าน� พออ่านหัวเรื่องจบเท่านั้นแหละ� หัวใจเต้นเร็วผิดปกติทั้งที่หัวเรื่องธรรมดา� ทางกรมขึ้นเรื่องว่า� สรุปข่าวหนังสือพิมพ์ ที่เกี่ยวกับ ทส.อส. และ ปม. ประจำวันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551� แทนที่จะอ่านเรื่องราวข้างในใจกลับสั่งให้ดูว่าใครลงนาม� ผู้ลงนามเป็นรองอธิบดีฝ่ายปราบปรามฯ� จึงรีบอ่านข้อความด้านใน� ซึ่งมีข้อความ 13 บรรทัดของกระดาษ เอ 4 เป็นข้อความตามที่สังหรณ์ใจไว้ไม่ผิด� ข้อความในวรรคสองมีว่า� โดยกรมพิจารณาแล้ว� กรณีที่มีการพาดพิงถึงเจ้าหน้าที่ป่าไม้และเจ้าหน้าที่ศุลกากร ว่ามีส่วนรู้เห็นในการกระทำดังกล่าวนั้น� ยังขาดความชัดเจนในรายละเอียด� ซึ่งอาจมีผลกระทบระหว่างหน่วยงานของทางราชการ และอาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อน� จึงขอให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)� พิจารณาสั่งเจ้าหน้าที่ผู้ให้ข่าวชี้แจงความเป็นมาของข่าว� และข้อเท็จจริงว่าได้ให้ข้อมูลกับหนังสือพิมพ์ดังกล่าว จริงหรือไม่อย่างไร แล้วรายงานให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทราบโดยเร่งด่วนต่อไป...!!
เมื่ออ่านจบความรู้สึกตอนนั้นตอบไม่ถูกว่าเสียใจหรือน้อยใจ� แต่มาคิดในด้านบวกว่าผู้ใหญ่ท่านคงจะเป็นห่วงเกรงจะไปหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจก็เป็นได้� จิตจึงสงบลง� ความท้อแท้เริ่มจะเข้ามาเยือน� นั่งนิ่งสักครู่หายใจลึกๆ เข้าปอด แล้วหายใจออกช้าๆ ประมาณ 2 นาที รู้สึกดีขึ้น จึงกดกริ่งเรียกเจ้าหน้าที่นอกห้องมา สั่งให้ไปตามคุณไมตรี สารพัฒน์ หัวหน้าสายตรวจปราบปรามฯ สายที่ 1 มาพบ� เมื่อคุณไมตรีฯมาถึงก็ยื่นแฟ้มให้นั่งอ่านสักประมาณ 30 นาที� จึงบอกไปว่าคุณไปร่างหนังสือแก้ตัวให้ผมด่วน� คุณไมตรีฯ อิดออดบอกว่าไม่ให้ประเวศฯร่างเพราะรู้เรื่องดีทุกอย่างไปกับหัวหน้ามากกว่าผม� จึงบอกไปว่าคุณร่างหนังสือดีและเร็ว ประเวศร่างดีก็จริงแต่ช้า เรื่องราวต่างก็รู้พอๆกัน ผู้ถือแฟ้มจึงรับปาก� ได้บอกแนวทางไปว่าเรื่องการพูดคุยกันระหว่างนักข่าวกับ ผมจะร่างเอง คุณไปร่างเรื่องที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้และเจ้าหน้าที่ศุลกากรรู้เห็นเป็นใจกับนายทุนเท่านั้นก็พอ� พรุ่งนี้เอามาให้ตรวจ� พอคุณไมตรีฯเดินพ้นจากห้องไป� ผู้เขียนนั่งเอนหลังพิงพนักหลับตาลงมองภาพต่างๆ ตลอดระยะเวลา 2 ปี ที่ติดตามล่าไม้พะยูงทั้ง 6 จังหวัดภาพต่างผุดขึ้นมา...!!
เริ่มตั้งแต่ปี 2549 ที่ติดตามไล่ล่าพวกลักลอบตัดไม้พอจะตั้ง� สมมุติฐานได้ว่าใครคือตัวการใหญ่และมีถิ่นฐานอยู่จังหวัดอะไร กลยุทธ์ในการส่งไม้ออกต่างประเทศ ไปเส้นทางไหนดีที่สุด หากท่านผู้อ่านอยากจะทบทวนพลิกกลับไปดู� “พะยูงฤาจะสูญสิ้นแผ่นดินไทย” ตอน 2-3 และแม้แต่ในปัจจุบันที่มีการลักลอบตัดแล้วลำเลียงจากฝั่งไทยใส่เรือหางยาวไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ผู้เขียนยังเชื่อว่าส่วนใหญ่จะกลับมาผ่านประเทศไทยโดยบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ จะเป็นขบวนการ “สินค้าผ่านแดน” หรือ “สำแดงเท็จ”ย่อมเป็นไปได้ทั้งนั้น�� เนื่องจากการขนส่งไปสู่ประเทศจีน� ไต้หวัน ฮ่องกง� จะบรรทุกไม้ใส่ตู้ได้ครั้งละไม่น้อยกว่า 400 ท่อน และเสียค่าเบี้ยใบ้รายทางน้อยกว่าผ่านเวียดนามไปสู่จีน คิดว่าตนเองมีหลักฐานทั้งทางตรงและพยานแวดล้อมอยู่พอสมควร� รอหลักฐานและความชัดเจนมากกว่านี้หน่อย� แต่ต้องมาโดนให้ชี้แจงเสียก่อน� ความทะยานอยากที่จะควานหาหลักฐานมาสนับสนุนสมมุติฐานที่ได้ตั้งไว้เริ่มเรรวนจึงหยุดจิตลงลุกขึ้นเก็บสัมภาระหอบเอกสารกลับบ้านพัก...!!
��������������� รุ่งเช้าคุณไมตรีมานั่งรอพบและยื่นแฟ้มให้บอกให้ตรวจแล้วเจ้าตัวขอออกไปทำธุระ� จัดการกับที่นั่งและโต๊ะทำงานแล้ว จึงเปิดแฟ้มเรื่องมีร่างหนังสือถึงกรมฯ �จึงได้ตั้งใจอ่านไปจนจบ คุณไมตรีร่างหนังสือดีเข้าใจโต้ตอบ� ได้รายงานการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด� ที่ออกไปรับรองไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์ให้แก่ราษฎรทั้งที่ระเบียบได้ยกเลิกไปนานแล้วและเรื่องนี้สำนักก็เคยรายงานกรมฯให้รายงานกระทรวงทราบ� แต่เรื่องก็เงียบหายไป� และอีกเรื่องได้รายงานพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่อนุญาตให้ตั้งคลังสินค้าชั่วคราวอันเป็นเท็จโดยครั้งนี้ได้ระบุชื่อเสียงเรียงนามตำแหน่งไปพร้อมเสร็จ� และกรณีการใช้ใบอนุญาตผ่าน� ( Export Pass Permit) ของบริษัทหนึ่งปล่อยไม้ไป� ต่อมาภายหลังจึงรู้ว่าเป็นใบอนุญาตผ่านปลอม....จึงได้แก้ไขไปบ้างเล็กน้อย� คราวนี้มาถึงคำชี้แจงของตัวเองบ้าง� ได้รายงานไปดังต่อไปนี้...� ข้าพเจ้าเรียนชี้แจงดังนี้..
��������������� ประเด็นที่ 1 ว่าได้ให้สัมภาษณ์จริงหรือไม่นั้น ข้อเท็จจริงเมื่อประมาณก่อนที่หนังสือพิมพ์จะออกวางตลาด 2 อาทิตย์ เจ้าหน้าที่ในสำนักงานรายงานว่า ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน� จะมาขอข้อมูลหลังจากสัมภาษณ์���� ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเสร็จเรียบร้อยแล้ว� ต่อมาประมาณ บ่าย 4 โมงเย็น ก็ได้มีนักข่าวมาพบกับข้าพเจ้าสองต่อสอง� ข้าพเจ้าถามว่ามีวัตถุประสงค์ใด� นักข่าวแจ้งว่าจะทำสกู๊ปข่าวขบวนการไม้พะยูง� อันดับแรกจะขอข้อมูลสถิติคดีก่อน� ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบข่าวสารบ้างจึงได้ให้ไป� หลังจากนั้นเราก็ได้นั่งคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เพราะนักข่าวบอกว่า เขามีพฤติกรรมของบุคคลและขบวนการหมดแล้ว� ข้าพเจ้าจึงขอทราบข้อมูลจากนักข่าว เราต่างแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้รับมา� เพราะข้าพเจ้าได้วิเคราะห์แล้วการให้ข่าวกับนักข่าวมีทั้งคุณและโทษ� แต่ถ้าไม่แลกเปลี่ยนกันก็คงไม่ได้ความจริง� คิดว่าจะหาพรรคพวกไว้เป็นสายให้� หากต่างฝ่ายต่างให้ความร่วมมือกันดีก็จะเกิดความคุ้นเคยกัน� เพราะทำงานเรื่องนี้ศัตรูมากแต่ถ้าเราแลกกันกับเรื่องไม้พะยูงที่ถูกทำลายมันมีค่ามากกว่าตัวข้าพเจ้าอีก ข้าพเจ้าเคยมีหนังสือรายงานกรมฯ ในเรื่องที่ตนเองมีปัญหาเรื่องไม้พะยูงเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติทางราชการไป 2 ฉบับตามเอกสารหมายเลข 1,2 และไม่เคยได้รับตอบจากกรมฯเลย� ท้อแท้ใจเหมือนกันเมื่อมีผู้มาพูดในเรื่องที่กำลังทำอยู่� จึงเล่าสู่นักข่าวฟังแต่ไม่มีการอัดเทปหรือถ่ายรูปแต่อย่างใด� ก่อนที่นักข่าวจะจากไป� ข้าพเจ้าถามว่าจะเอาเรื่องที่เล่าให้ฟังไปลงข่าวหรือไม่� นักข่าวบอกว่าจะเอาตอนที่น่าสนใจลงเพื่อให้ครบกระบวนการ แต่ก่อนพิมพ์ทางกองบรรณาธิการมีทีมงานด้านกฎหมายคอยกรองอยู่-แล้ว� ข้าพเจ้าจึงสำทับไปอีกว่าอย่าให้เดือนร้อนถึงผมนะ� ผมเป็นข้าราชการ� ข้าพเจ้าได้พิจารณาตนเองแล้วว่าการทำงานด้านนี้มันเป็นไปโดยธรรมชาติ ที่ต้องหวงแหนป่าโดยกมลสันดานเห็นคนทำลายป่าไม้ไม่ได้� มิได้ต้องการตำแหน่งหรือระดับที่สูงขึ้น� ไม่ต้องการความดีความชอบ� ไม่ต้องการมีเชื่อเสียง� หากสังคมไม่ยอมรับการกระทำก็พร้อมที่จะลงโทษตัวเองทันที...!!
��������������� ประเด็นที่ 2 เรื่องไปพาดพิงถึงหน่วยงานอื่นนั้นในการเล่าสู่กันฟังระหว่างนักข่าวได้กล่าวถึงอยู่เหมือนกัน� แต่ไม่ได้เอาหลักฐานทางราชการให้นักข่าวดูแต่อย่างใด� พร้อมนี้ได้แนบหลักฐานมาด้วยแล้วและขอให้กรมฯช่วยติดตามให้ด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง...� ท้ายหนังสือลงชื่อพร้อมตำแหน่ง...?
��������������� เมื่อพิมพ์หนังสือชี้แจง (แก้ตัว)� เสร็จในตอนแรกว่าจะประทับตรา “ลับ”� นึกอีกทีหนังสือส่งมายังไม่เป็นลับเลย� กลับไปจะต้องเกรงกลัวอะไร� จริงคือจริง� ในวันนั้น� ผู้อำนวยการสำนักฯไม่อยู่จึงลงนามด้วยตนเองในฐานะรักษาราชการเสร็จแล้วให้ธุรการรีบจัดส่งกรม� หมดเสียทีเรื่องกวนใจเล่นเอากำลังใจหายไปไม่น้อย� เสียใจอยู่นิดว่ามีเรื่องอะไรผู้บังคับบัญชาให้เด็กหน้าห้องโทรถามก็ได้� เล่นเป็นหนังสือ� หากเราไม่มีหลักฐานตอบกลับไปจะยุ่งกันใหญ่แก้ไขอะไรไม่ทัน� ขนาดตอบกลับไปคิดว่าน่าจะสมบูรณ์ยังไม่มั่นใจ� ไม่สบายใจไปเกือบ 2 อาทิตย์� เกรงว่าจะมีหนังสือจากกรมแต่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยตามมา� แต่อ่านจากข่าวแล้วการพาดพิงไม่ถึงกับเจาะจงไม่น่าจะเข้าใจผิด� เพราะทุกหน่วยงานย่อมมีคนดีและไม่ดีปะปนอยู่ด้วยเสมอ� หากเอาความจริงไปลงนี่ซิน่าจะเป็นการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท� เท่าที่รู้ในทางอาญา “ยิ่งจริง ยิ่งหมิ่น” ในทางแพ่งเท่านั้นถ้าพิสูจน์ว่าจริงไม่เป็นการละเมิด� เปรียบเทียบกับที่ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติให้สัมภาษณ์ว่า� อธิบดีกรมที่ดินเป็นผู้ใหญ่เลี้ยงแกะ น่าจะเป็นเรื่องใหญ่ พอกันทีกับมาตรฐานของคนไทยหรือสังคมไทย ที่เขียนมาเสียยืดยาวต้องการเผยแพร่ธรรมะให้ท่านผู้อ่านได้ตระหนักในการงาน หนังสือพิมพ์ลงฉบับเดียวไม่ถึง 10 วัน หนังสือให้ชี้แจงแล้ว� คนที่ลงนาม ในด้านรุ่น เป็นเฟรชชี่ แต่มีความรู้ความสามารถรับราชการมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าเร็ว� จำเป็นต้องยอมรับตามธรรมเนียมปฏิบัติ� ฉะนั้นใครที่อยู่ในอารมณ์น้อยเนื้อต่ำใจในโชควาสนาอ่านเรื่องนี้แล้วจะช่วยให้จิตใจดีขึ้น� สำหรับผู้เขียนมันจบไปนานแล้ว �ทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ� อภัยทาน...เมื่อเรื่องยุติก็นับว่าเป็นบุญ มิฉะนั้นแล้วจะกลายเป็นว่า...โคเฒ่าเกือบจะถูกฆ่า� ทั้งที่ทำนายังไม่เสร็จ...เลี้ยงไว้ใช้งานต่อจะดีกว่า....?

Last updated: 2015-05-13 00:16:02