ป่าไม้เป็นแหล่งสะสมคาร์บอนขนาดใหญ่ของโลก โดยสะสมอยู่ทั้งในส่วนของต้นไม้และดิน คาร์บอนที่สะสมอยู่ในต้นไม้และดินนั้น มีปริมาณมากกว่าในบรรยากาศถึง 3.5 เท่า การแลกเปลี่ยนคาร์บอนระหว่างระบบนิเวศป่าไม้กับบรรยากาศจะถูกควบคุมโดยกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช การหายใจของสิ่งมีชีวิต และการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
คาร์บอนเป็นธาตุองค์ประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และสารประกอบอินทรีย์อื่นๆ ที่สำคัญล้วนแต่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น คาร์บอนปรากฏอยู่ในบรรยากาศในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีอยู่ในปริมาณร้อยละ 0.03 ของก๊าซในบรรยากาศ คาร์บอนอยู่ในมหาสมุทรในรูปของสารละลาย นอกจากนั้นยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของหินปูน มหาสมุทรมีปริมาณคาร์บอนมากกว่าในบรรยากาศถึง 50 เท่า วัฎจักรของคาร์บอนจะหมุนเวียนอยู่ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม หรือระหว่างอินทรีย์คาร์บอนและอนินทรีย์คาร์บอน
คาร์บอนในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีการแลกเปลี่ยนระหว่างบรรยากาศ มหาสมุทร และพื้นดิน การแลกเปลี่ยนถูกควบคุมโดยกระบวนการสังเคราะห์แสงและการหายใจ การแลกเปลี่ยนที่มากที่สุดคือการแลกเปลี่ยนระหว่างบรรยากาศและสิ่งมีชีวิตบนพื้นดิน แหล่งสะสมคาร์บอนที่สำคัญได้แก่ มหาสมุทร ต้นไม้ และดิน
ในระหว่างกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช พืชจะดูดเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ ผ่านกระบวนการทางเคมีต่างๆ ได้อินทรียสารที่สลับซับซ้อน เช่น น้ำตาล และแป้ง เป็นต้น กระบวนการสังเคราะห์แสงจึงเป็นกระบวนการที่เปลี่ยนคาร์บอนจาก อนินทรีย์คาร์บอนเป็นอินทรีย์คาร์บอน และเป็นการเริ่มต้นของผู้ผลิตในระบบนิเวศ สารประกอบที่พืชสร้างขึ้นมาได้ ส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็นพลังงานในกระบวนการหายใจทั้งในพืชและสัตว์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ
ในบางกรณี คาร์บอนในรูปของอินทรียสารในสิ่งมีชีวิต อาจจะไม่ได้หมุนเวียนกลับคืนสู่บรรยากาศในทันทีทันใด แต่อาจจะสะสมอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจจะนานเป็นสิบปี ร้อยปี หรือล้านปี ตัวอย่างเช่น คาร์บอนที่อยู่ในรูปเนื้อไม้ในต้นไม้ใหญ่ ซากพืชและสัตว์ในยุคโบราณที่เน่าเปื่อยผุสลายยังไม่หมด ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
ดินเป็นแหล่งเก็บกักคาร์บอนที่ใหญ่และสำคัญอีกแหล่งหนึ่ง ปริมาณคาร์บอนที่เก็บกักไว้ในดิน (soil carbon pool) มีประมาณ 3.3 เท่าของในบรรยากาศ (atmospheric pool) และ 4.3 เท่าของที่เก็บกักไว้โดยมวลชีวภาพ (biotic pool)
คาร์บอนในดินอยู่ในรูปสารอินทรีย์ (soil organic carbon, SOC) และอนินทรีย์ (soil inorganic carbon, SIC) ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดินมีค่าผันแปรสูง ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากสภาพธรรมชาติมาใช้ทำการเกษตรมีผลทำให้สารอินทรีย์ลดลงมากถึงร้อยละ 60 ในเขตหนาว และอาจมากถึงร้อยละ 75 หรือมากกว่าในเขตร้อน การลดลงของปริมาณสารอินทรีย์ทำให้ดินเสื่อมสภาพ
จะเห็นได้ว่าวัฏจักรของคาร์บอนประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญสองกระบวนการอันได้แก่ (1) กระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเข้ามาสู่พืช หรือเปลี่ยนรูปจากอนินทรีย์คาร์บอนเป็นรูปอินทรีย์คาร์บอน และ (2) กระบวนการหายใจ เผาไหม้ และการกร่อน (erosion) ซึ่งเป็นกระบวนการที่นำคาร์บอนกลับไปสู่วัฏจักรในน้ำและบรรยากาศ หรือเปลี่ยนรูปจากอินทรีย์คาร์บอนเป็นอนินทรีย์คาร์บอน
ปริมาณการสะสมคาร์บอนในพืชและดินที่ระดับความลึก 1 เมตร ในไบโอมประเภทต่าง ๆ
ไบโอม |
พื้นที่ (106 กม2) |
ปริมาณคาร์บอนที่สะสม (109 ตัน)
|
พืช |
ดิน |
รวม |
ป่าเขตร้อน
(Tropical forests) |
17.6 |
212 |
216 |
428 |
ป่าเขตอบอุ่น
(Temperate forests) |
10.4 |
59 |
100 |
159 |
ป่าเขตหนาวเหนือ
(Boreal forests) |
13.7 |
88 |
471 |
559 |
สะวันนาเขตร้อน
(Tropical savannas) |
22.5 |
66 |
264 |
330 |
ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
(Temperate grasslands) |
12.5 |
9 |
295 |
304 |
ทะเลทรายและกึ่งทะเลทราย
(Deserts and semideserts) |
45.5 |
8 |
191 |
199 |
ทุนดร้า
(Tundra) |
9.5 |
6 |
121 |
127 |
พื้นที่ชุ่มน้ำ
(Wetlands) |
3.5 |
15 |
225 |
240 |
พื้นที่การเกษตร
(Croplands) |
16.0 |
3 |
128 |
131 |
รวม |
151.2 |
466 |
2011 |
2477 |
เนื่องจากป่าไม้ในสภาพธรรมชาติทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บกักคาร์บอน ดังนั้น เมื่อมีการปลูกป่า ก็จะมีพื้นที่ที่เป็นแหล่งเก็บกักคาร์บอนเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน เมื่อป่าไม้เหล่านี้ถูกรบกวนหรือถูกทำลาย คาร์บอนที่เก็บสะสมอยู่เหล่านี้ก็จะถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ
เปรียบเทียบการปล่อยคาร์บอนจากการเผาเชื้อเพลิงและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ค่าเฉลี่ยรายปีในช่วงปี พ.ศ. 2523 ถึง 2532 และ พ.ศ. 2532 ถึง 2541
กิจกรรม |
คาร์บอน (109 ตัน/ปี) |
พ.ศ. 2523-2532 |
พ.ศ. 2532-2541 |
การเผาเชื้อเพลิงและอุตสาหกรรม |
5.5 ± 0.5 |
6.3 ± 0.6 |
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน |
3.3 ± 0.2 |
3.3 ± 0.2 |
การปล่อยคาร์บอนจากการทำลายป่าเขตร้อนในปี พ.ศ. 2533
เขตทวีป |
คาร์บอน (109 ตัน/ปี) |
Achard et al. (2004) |
DeFries et al. (2002) |
Houghton (2003) |
อเมริกา |
0.441 |
0.43 |
0.75 |
เอเซีย |
0.385 |
0.35 |
1.09 |
อาฟริกา |
0.157 |
0.12 |
0.35 |
รวม |
0.983 |
0.91 |
2.20 |
Last updated: 2011-01-09 16:01:29